วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่9-11)

คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่11)

1.ตัวเหนี่ยวนำ(Inductor)...ตัวเหนี่ยวนำเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยมีการใช้งานกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป มีตั้งแต่ขนาดเล็กมาก ๆ ประมาณปลายนิ้วมือจนกระทั่งถึงขนาดใหญ่เท่าห้องปฏิบัติการ ลักษณะของตัวเหนี่ยวนำจะเป็นการนำเอาลวดตัวนำมาพันเรียงกันเป็นขดลวด อาจมีจำนวนรอบไม่กี่รอบจนกระทั่งถึงพันรอบแล้วแต่ค่าความเหนี่ยวนำที่ต้องการใช้งาน การพันขดลวดของตัวเหนี่ยวนำอาจพันบนแกนชนิดต่าง ๆ หรือเป็นแบบไม่มีแกน (แกนอากาศ) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

2.ความเหนี่ยวนำ(Inductance)...การพันจำนวนรอบของตัวเหนี่ยวนำมีผลต่อความเหนี่ยวนำ (Inductance) ในตัวเหนี่ยวนำนั้น พันจำนวนรอบน้อยความเหนี่ยวนำน้อย พันจำนวนรอบมากความเหนี่ยวนำมาก จำนวนรอบยังมีผลต่อปริมาณสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นด้วย จำนวนรอบน้อย สนามแม่เหล็กเกิดน้อย จำนวนรอบมาก สนามแม่เหล็กเกิดมาก

3.ขดลวด(Coil)...วัสดุที่ใช้ทำขดลวดหม้อแปลงโดยทั่วไปทำมาจากสายทองแดงเคลือบน้ำยาฉนวน มีขนาดและลักษณะลวดเป็นทรงกลม หรือแบนขึ้นอยู่กับขนาดของหม้อแปลง ลวดเส้นโตจะมีความสามารถในการจ่ายกระแสได้มากกว่าลวดเส้นเล็กหม้อแปลงขนาดใหญ่มักใช้ลวดถักแบบตีเกลียว เพื่อเพิ่มพื้นที่สายตัวนำให้มีทางเดินของกระแสไฟมากขึ้น สายตัวนำที่ใช้ พันขดลวดบนแกนเหล็กทั้งขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติยภูมิอาจมีแทปแยก (Tap) เพื่อแบ่งขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้า (ในหม้อแปลงขนาดใหญ่จะใช้การเปลี่ยนแทปด้วยสวิตช์อัตโนมัติ)

4.เส้นแรงแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Flux)...ด้วยนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว เส้นแรงแม่เหล็กไม่ได้เป็นปริมาณเวกเตอร์ แต่เป็นเวกเตอร์เสมือน เท่านั้น แม้ว่าภาพต่างๆ มักจะแสดงเส้นแรงแม่เหล็กด้วยลูกศร แต่เราไม่สามารถแปลความหมายลูกศรนั้นเป็นการเคลื่อนที่หรือการไหลของเส้นสนาม

5.สนามแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Field)...จะหมายถึงเส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและความเข้มของเส้นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่มีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า) และที่เกิดขึ้นโดยรอบวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) ในกรณีกล่าวถึงทั้ง สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กพร้อมกันมักจะเรียกรวมว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF)หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

6.เฟอร์โรแมกเนติก(Ferromagnetic)...

7.โช้ค(Choke)...ช่วยในเรื่องการทรงตัวเป็นหลักครับ ช่วยในเรื่องความแข็งแรง(ประโยชน์มากเวลาจั๊ม) เปลี่ยนไซร์ยางเป็นขนาดดังกล่าวผลคือ มีความสะเทือนเพิ่มขึ้นครับ เข็มวัดความเร็วอ่อน

8.แกนอากาศ(Air Core)...นอกจากนี้ยังใช้ขดลวดแกนอากาศกับงานในระบบที่ใช้ความถี่สูงโดยไม่ต้องการให้เส้นแรง แม่เหล็กมีการอิ่มตัวหรือการ สูญเสียเกิดขึ้นที่แกนเหล็ก

9.แกนเฟอร์ไรด์(Ferrite Core)...แกนเฟอร์ไรท์เป็นวัสดุที่มีส่วนผสมของแม่เหล็กทำให้มีความเข้ม สนามแม่เหล็กมากกว่าเหล็กและมีความต้านทานสูง จึงช่วยลดการสูญเสียบนแกนเหล็ก หรือลดความร้อนจากการเกิดกระแสไหลวนที่ความถี่สูง

10.แกนผงเหล็กอัด(Powdered -Iron Core)...ตัวเหนี่ยวนำแกนผงเหล็กอัด เป็นตัวเหนี่ยวนำที่แกนหรือฐานรองรับเส้นลวดทำด้วยผงเหล็กชนิดอัดแน่น โดยนำผงเหล็กผสมกับกาวอัดแน่นเป็นแท่ง ช่วยลดการสูญเสียสัญญาณจากกระแสไหลวน (Eddy Current) ลงได้ สัญญาณส่งผ่านตัวเหนี่ยวนำแกนผงเหล็กอัดได้สูงขึ้น เกิดการสูญเสียสัญญาณภายในตัวเหนี่ยวนำลดลง ใช้งานได้ดีในย่านความถี่สูงๆ มีความเหนี่ยวนำสูงแต่มีขนาดเล็ก ลักษณะตัวเหนี่ยวนำแกนผงเหล็กอัด

11.แกนทอรอยด์(Toroidal Core)...แกนทอลอยด์มีลักษณะคล้ายวงแหวนทำมาจากโลหะผสมสารกึ่งตัวนำ-ซิลิกอน หม้อแปลงแกนทอลอยด์มีประสิทธิภาพ สูง (95 %) เพราะแกนทอลอยด์มีสภาพความนำแม่เหล็กสูง อีกทั้งยังไม่มีช่องรอยต่อเหมือนแกนเหล็กแบบ Core และแบบ Shell จึงช่วยลดการเกิดเสียงรบกวนได้ในขณะทำงาน

12.แกนเหล็กแผ่น(Laminated - Iron Core)... แผ่นเหล็กที่ใช้ทำหม้อแปลงจะมีส่วนผสมของสารกึ่งตัวนำ-ซิลิกอนเพื่อรักษาความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้น รอบขดลวดไว้ แผ่นเหล็กแต่ละชั้นเป็นแผ่นเหล็กบางเรียงต่อกัน หลายชิ้นทำให้มีความต้านทานสูงและช่วยลดการสูญเสีย บนแกนเหล็กที่ส่งผลให้เกิดความร้อนหรือที่เรียกว่า กระแสไหลวนบนแกนเหล็กโดยทำแผ่นเหล็กให้เป็นแผ่นบางหลาย แผ่นเรียงซ้อนประกอบขึ้น เป็นแกนเหล็กของหม้อแปลง ซึ่งมีด้วยกันหลายรูปแบบเช่น แผ่นเหล็กแบบ Core และแบบ Shell

13.กระแสไหลวน(Eddy Current)...ส่วนใหญ่กระแสที่เราเหนี่ยวนำขึ้นมา มักจะอธิบายกันที่ขดลวดตัวนำวงกลม แต่ที่จริงแล้วกระแสเหนี่ยวนำสามารถสร้างขึ้นในแผ่นตัวนำได้เลย โดยใช้หลักของฟาราเดย์ที่ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนฟลักซ์ของสนามแม่เหล็ก ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น และมักจะเกิดกับโลหะหรือตัวนำไฟฟ้าได้ดี เหตุผลก็เป็นเพราะความต้านทานของตัวนำค่อนข้างต่ำ ดังนั้นสามารถสร้างกระแสเหนี่ยวนำขึ้นได้ง่าย

14.ตัวกรองไฟ(Filter)...มันอยู่อยู่ 3 จำพวก คือเครื่องคุมไฟ สำหรับทำให้กระแสไฟฟ้านิ่ง คงที่ ไม่วูบวาบ เครื่องกรองไฟ สำหรับทำให้กระแสไฟฟ้าสะอาดขึ้น กรองสัญญาณรบกวนออกไป ส่วน ups เข้าใจว่าเป็นเครื่องสำรองไฟ คือเผื่อฉุกเฉินเวลาไฟดับอ่ะคับ ส่วนมากก็ใช้กับคอมพิวเตอร์ จะได้ปิดเครื่องได้ทัน

15.ทางเข้า(Input)...
16.ทางออก(Output)...
17.ปฐมภูมิ(Primary)...รับแรงเคลื่อนไฟฟ้า
18.ทุติยภูมิ(Secondary)...แรงเคลื่อนไฟฟ้า

19.แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ(Induce Electro Motive Force)...ปลายทั้งสองข้างของเส้นลวดตัวนำทำหน้าที่เสมือนเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าเกิดเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า

20.หม้อแปลงไฟฟ้า(Transformer)...เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนระดับแรงดันให้สูงขึ้นหรือต่ำลงตามต้องการ ภายในประกอบด้วยขดลวด 2 ชุดคือ ขดลวดปฐมภูมิ ( Primary winding) และ ขดลวดทุติยภูมิ (Secondary winding) แต่สำหรับหม้อแปลงกำลัง ( Power Transformer) ขนาดใหญ่บางตัวอาจมีขดลวดที่สามเพิ่มขึ้นคือขด Tertiary winding ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขด Primary และ Secondary และแรงดันที่แปลงออกมาจะมีค่าต่ำกว่าขด Secondary

21.หม้อแปลงเพิ่มแรงดัน(Step Up Tranformer)... หม้อแปลงเพิ่มแรงดัน เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เพิ่มแรงดันไฟสลับที่ด้านส่งออกเอาต์พุต หรือขดทุติยภูมิมีค่าแรงดันมากกว่าค่าแรงดันที่ป้อนเข้ามา รูปแบบการพันขดลวดในหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้ จำนวนรอบของขดลวดทางขดปฐมภูมิน้อยกว่าจำนวนรอบของขดลวดทางขดทุติยภูมิ ลักษณะหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดเพิ่มแรงดัน

22.หม้อแปลงลดแรงดัน(Step Down Tranformer)...หม้อแปลงลดแรงดัน เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ทำหนัาที่ลดแรงดันไฟสลับที่ส่งออกทางขดลวดทุติยภูมิ มีค่าแรงดันน้อยกว่าค่าแรงดันท่ป้อนเข้ามา รูปแบบการพันขดลวดในหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้ จำนวนรอบของขดลวดทางขดปฐมภูมิมากกว่าจำนวนรอบของขดลวดทางขดทุติภูมิลักษณะหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดลดแรงดัน

23.หม้อแปลงกำลัง(Power Tranformer)...หม้อแปลงกำลัง เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีลักษณะการพันขดลวดแบบหลายขดลวดรวมกันอยู่ในหม้อแปลงทางขดทุติภูมิ มีทั้งขดเพิ่มแรงดันและขดลดแรงดัน ลักษณะหม้อแปลงกำลัง

24.หม้อแปลงออโต้(Auto Tranformer)...หม้อแปลงออโต เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีลักษณะการพันขดลวดทุกขดอยู่บนแกนเดียวกัน มีขดลวดพันออกมาใช้งานเพียวขดเดียว แยกชุดจ่ายแรงดันออกมาตามค่าที่ต้องการเป็นจุดๆ มีจุดต่อร่วมจุดเดียวกัน จุดใดเป็นจุดจ่ายแรงดันเข้าเรียกว่าขดปฐมภูมิ จุดใดเป็นจุดจ่ายแรงดันออกเรียกว่า ขดทุติภูมิ

25.หม้อแปลงทอรอยด์(Toroidal Tranformer)...หม้อแปลงทอรอยต์ เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าแกนเหล็กแผ่นบางเคลือบฉนวนวางซ้อนกันในรูปวงแหวน การพันขดลวดสามารถพันให้เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าลักษณะต่างๆ ได้ เช่น ชนิดลดแรงดัน ชนิดเพิ่มแรงดัน ชนิดกำลัง และชนิดออโต เป็นต้น ข้อดีของหม้อแปลงแบบนี้ คือ มีขนาดเล็กกะทัดรัดที่ให้ค่าความเหนี่ยวนำสูง มีการสูญเสียกำลังต่ำ นิยมใช้งานอย่างแพร่หลาย ลักษณะหม้อแปลงทอรอยต์



คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่9-10)

1.ความต้านทาน(Resistance)...คือ หน่วยวัดปริมาณความต้านทานกระแสไฟฟ้าของวัตถุ วัตถุที่มีความต้านทานต่ำจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย เรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า ในขณะที่ฉนวนไฟฟ้ามีความต้านทานสูงมากและไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านค่าความต้านทานไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ R มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω) มีค่าเป็นส่วนกลับของ ความนำไฟฟ้า (Conductivity) หน่วยซีเมนส์กฎของโอห์มเขียน ความสัมพันธ์ระหว่าง แรงดันไฟฟ้า (V) , กระแสไฟฟ้า (I) และความต้านทาน (R) ไว้ดังนี้: R = V / I จากการวัดกับวัสดุต่างๆ ที่สภาวะต่างๆ กัน มักปรากฏว่าความต้านทาน ไม่ขึ้นกับปริมาณกระแสไฟฟ้า หรือ แรงดันไฟฟ้า กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มีค่าความต้านทานคงที่

2.ตัวนำ(Conducter)...ตัวเหนี่ยวนำเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยมีการใช้งานกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป มีตั้งแต่ขนาดเล็กมาก ๆ ประมาณปลายนิ้วมือจนกระทั่งถึงขนาดใหญ่เท่าห้องปฏิบัติการ ลักษณะของตัวเหนี่ยวนำจะเป็นการนำเอาลวดตัวนำมาพันเรียงกันเป็นขดลวด อาจมีจำนวนรอบไม่กี่รอบจนกระทั่งถึงพันรอบแล้วแต่ค่าความเหนี่ยวนำที่ต้องการใช้งาน การพันขดลวดของตัวเหนี่ยวนำอาจพันบนแกนชนิดต่าง ๆ หรือเป็นแบบไม่มีแกน (แกนอากาศ) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

3.ฉนวน(Insulator)...ฉนวนคือวัสดุที่มีคุณสมบัติในการกีดกั้นหรือขัดขวางการไหลของกระแสไฟฟ้าหรือวัสดุที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้ได้แก่ ยาง ไฟเบอร์ พลาสติก ฯลฯ ฉนวนจะต้องสามารถป้องกันตัวนำไฟฟ้าจากความร้อนหรือของเหลวที่สามารถกัดกร่อนตัวนำไฟฟ้า และสามารถกันน้ำได้ดี ฉนวนที่ใช้หุ้มตัวนำไฟฟ้าต้องมีความต้านทานสูง ต้องไม่ถูกกรดหรือด่างกัดกร่อนได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 0 ถึง 200 องศาฟาเรนไฮต์ และต้องไม่ดูดความชื้นในอากาศ ฉนวนที่ใช้หุ้มตัวนำไฟฟ้ามีอยู่หลายชนิด ได้แก่ แร่ใยหิน ยางทนความร้อนพลาสติก PVC ฉนวนที่นิยมใช้งานได้แก่-ก. ฉนวนยาง ฉนวนยางที่ใช้หุ้มตัวนำไฟฟ้าและสายเคเบิลทำจากยางพารา 20 ถึง 40% ผสมกับแร่ธาตุอีกหลายชนิด เช่น ผงซัลเฟตของแมกนีเซียม สังกะสีออกไซด์ ฯลฯและมีกำมะถันปนอยู่ด้วยเล็กน้อย ใช้ทำสายไฟฟ้าแรงสูง-ข. พลาสติก PVC เป็นฉนวนที่มีคุณสมบัติบิดงอได้ แต่ไม่ดีเท่ากับยาง ไม่มีปฏิกิริยากับออกซิเจนและน้ำมันต่าง ๆ ไม่มีปฏิกิริยากับกรดและด่าง ทนอุณหภูมิได้สูง จึงเป็นที่นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบัน

4.ตัวต้านทาน(Resister)...เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดสองขั้ว ที่สร้างความต่างศักย์ทางไฟฟ้าขึ้นคร่อมขั้วทั้งสอง โดยมีสัดส่วนมากน้อยตามกระแสที่ไหลผ่าน อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ และปริมาณกระแสไฟฟ้า ก็คือ ค่าความต้านทานทางไฟฟ้า หรือค่าความต้านทานหน่วยค่าความต้านทานไฟฟ้าตามระบบเอสไอ คือ โอห์ม อุปกรณ์ที่มีความต้านทาน ค่า 1 โอห์ม หากมีความต่างศักย์ 1 โวลต์ไหลผ่าน จะให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ ซึ่งเท่ากับการไหลของประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ (ประมาณ 6.241506 × 1018 elementary charge) ต่อวินาที

5.โลหะ(Metallic)...โลหะ คือ วัสดุที่ประกอบด้วยธาตุโลหะที่มีอิเล็กตรอนอิสระอยู่มากมาย นั่นคืออิเล็กตรอนเหล่านี้ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้มันมีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น-เป็นตัวนำไฟฟ้าและความร้อนได้ดีมาก-ไม่ยอมให้แสงผ่าน-ผิวของโลหะที่ขัดเรียบจะเป็นมันวาว-โลหะมีความแข็งแรงพอสมควรและสามารถแปรรูปได้จึงถูกใช้งานในด้านโครงสร้างอย่างกว้างขวาง

6.อโลหะ(Non-Metallic)...คือ ธาตุที่มีคุณสมบัติต่างจากโลหะและธาตุกึ่งโลหะ ในด้านการแตกตัวของไอออน (ionization) และการดึงดูดระหว่างอะตอม (bonding properties)อโลหะทุกตัวจะมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ (highly electronegative) โดยการรับอิเล็กตรอน (valence electrons) จากอะตอมของธาตุอื่นอโลหะเป็นอนุกรมเคมีในตารางธาตุ ประกอบด้วย-ธาตุในกลุ่มแฮโลเจน-ธาตุในกลุ่มก๊าซมีตระกูล-ธาตุต่อไปนี้ไฮโดรเจน (hydrogen - H)คาร์บอน (carbon - C)ไนโตรเจน (nitrogen - N)ออกซิเจน (oxygen - O)ฟอสฟอรัส (phosphorus - P)กำมะถัน (sulfur - S)ซีลีเนียม (selenium - Se)*โดยทั่วไป อโลหะมีสมบัติตรงข้ามกับ

7.ตัวต้านทานไวร์วาวด์(Wire-Wound Resister)...เป็นตัวต้านทานที่มีโครงสร้างทำด้วยเส้นโลหะผสม 2 หรือ 3 ชนิด อันได้แก่ นิกเกิล-โครเมียม หรือ ทองแดง-นิกเกิล เพราะว่าเป็นโลหะผสมที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้านทานเพียงเล็กน้อยขณะที่ตัวต้านทานมีความร้อนเกิดขึ้น เมื่อทำการพันเส้นลวดลงบนแท่งเซรามิกรูปทรงกระบอกจะได้ตัวต้านทานแบบเส้นลวด และที่ปลายทั้งสองข้างของเส้นลวด ความต้านทานจะต่อเข้ากับขาโลหะเพื่อการนำไปใช้งาน ส่วนที่ผิวของเส้นลวดความต้านทานจะถูกเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบ ซีเมนต์ ปลอกแก้วหรือซิลิโคนเพื่อเป็นฉนวนไฟฟ้า และป้องกันไม่ให้เส้นลวดขาดง่ายเมื่อถูกขีดข่วนจากสิ่งภายนอกตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์จะมีความต้านทานที่เที่ยงตรงและมีค่าผิดพลาดน้อยที่สุด แต่จะเป็นตัวต้านทานที่มีขนาดใหญ่ และมีอัตราทนกำลังไฟฟ้าได้สูงถึง 1,000 วัตต์ ส่วนมากค่าความต้านทานแบบไวร์วาวด์จะเขียนบอกไว้ที่ตัวของมันเอง การนำไปใช้งานนิยมใช้ในวงจรตัวแบ่งแรงดันไฟฟ้า เช่น วงจรภาคจ่ายไฟฟ้า หรือใช้ในวงจรเครื่องส่งวิทยุที่ใช้กำลังงานสูงและอื่นๆเป็นต้นค่าความต้านทานของตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์นี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นลวดที่ใช้พัน ถ้าใช้เส้นลวดเส้นใหญ่ความต้านทานมีค่าต่ำ ถ้าใช้ลวดเส้นเล็กความต้านทานมีค่าสูงขึ้น และขึ้นอยู่กับความยาวของลวดที่พัน ถ้าลวดมีความยาวน้อย ความต้านทานมีค่าต่ำ ถ้าลวดมีความยาวมากขึ้น ความต้านทานมีค่าสูงขึ้น

8.ตัวต้านทานฟิล์มโลหะ(Metal-Film Resister)...เป็นตัวต้านทานประเภทโลหะอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้งานมากในปัจจุบัน โครงสร้างของตัวต้านทานชนิดนี้ประกอบด้วยแกนทรงกระบอกเล็กๆ ทำจาก เซรามิก เคลือบผิวเซรามิกด้วยโลหะบางๆพวกนิกเกิลหรือโครเมียม โดยเคลือบในสุญญากาศ การเคลือบบนแกนเซรามิกเป็นแบบพันรอบแกนแบบต่อเนื่องจากปลายด้านหนึ่งไปยังปลายอีกด้านหนึ่ง และมีโลหะครอบปลายทั้งสองต่อออกมาเป็นขาตัวต้านทาน ข้อดีของตัวต้านทานชนิดนี้คือ มีค่าความต้านทานผิดพลาดต่ำมากกว่า +_1% จนถึง +_0.001% เพราะใช้แสงเลเซอร์เจาะตัดเอาโลหะส่วนเกินออก และสร้างค่าความต้านทานให้มีค่าสูงมากขึ้นกว่าชนิดตัวต้านทานไวร์วาวด์ได้แต่มีราคาแพงขึ้น

9.กึ่งตัวนำ(Semiconductor)...คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำและฉนวน เป็นวัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ มักมีตัวประกอบของ germanium, selenium, silicon วัสดุเนื้อแข็งผลึกพวกหนึ่งที่มีสมบัติเป็นตัวนำ หรือสื่อไฟฟ้าก้ำกึ่งระหว่างโลหะกับอโลหะหรือฉนวน ความเป็นตัวนำไฟฟ้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และสิ่งไม่บริสุทธิ์ที่มีเจือปนอยู่ในวัสดุพวกนี้ ซึ่งอาจเป็นธาตุหรือสารประกอบก็มี เช่น ธาตุเจอร์เมเนียม ซิลิคอน ซีลีเนียม และตะกั่วเทลลูไรด์ เป็นต้น วัสดุกึ่งตัวนำพวกนี้มีความต้านทานไฟฟ้าลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะตรงข้ามกับโลหะทั้งปวงที่อุณหภูมิ ศูนย์ เคลวิน วัสดุพวกนี้จะไม่ยอมให้ไฟฟ้าไหลผ่านเลย เพราะเนื้อวัสดุเป็นผลึกโควาเลนต์ ซึ่งอิเล็กตรอนทั้งหลายจะถูกตรึงอยู่ในพันธะโควาเลนต์หมด (พันธะที่หยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม) แต่ในอุณหภูมิธรรมดา อิเล็กตรอนบางส่วนมีพลังงาน เนื่องจากความร้อนมากพอที่จะหลุดไปจากพันธะ ทำให้เกิดที่ว่างขึ้น อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาเป็นสาเหตุให้สารกึ่งตัวนำ นำไฟฟ้าได้เมื่อมีมีสนามไฟฟ้ามาต่อเข้ากับสารนี้

10.ตัวต้านทานคาร์บอน(Carbon Resister)...เป็นตัวต้านทานที่ทำมาจากผงคาร์บอนหรือผงแกรไฟต์ ผสมกับตัวประสานฟีนอลลิกอัดแน่นเป็นแท่งทรงกระบอก และที่ปลายทั้งสองข้างของแท่งคาร์บอนจะถูกยึดติดกับโลหะและต่อเส้นลวดออกมาเพื่อใช้เป็นขาต่อ ส่วนตัวแท่งคาร์บอนจะถูกเคลือบด้วยฉนวนไฟฟ้า ซึ่งค่าของความต้านทานจะขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ของผงคาร์บอนในการผสมใช้งาน ความหนาแน่นเปลี่ยนแปลงความต้านทานก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ค่าความต้านทานที่ผลิตได้ตั้งแต่ค่าต่ำๆ เป็นเศษส่วนของโอห์มจนถึงเป็นล้านๆโอห์มขึ้นไป ( โอห์มเป็นหน่วยใช้บอกค่าความต้านทานของตัวต้านทาน ) ค่าทนกำลังไฟฟ้าของตัวต้านทานชนิดนี้มีค่าตั้งแต่ 1/8 วัตต์ ถึง 2 วัตต์โดยประมาณข้อเสียของตัวต้านทานชนิดนี้ คือ มีค่าความผิดพลาดสูง อุณหภูมิมีผลต่อความต้านทานนี้มาก และไม่สามารถนำตัวต้านทานชนิดนี้ไปใช้กับงานผ่านความถี่สูงๆได้ เพราะจะเกิดสัญญาณรบกวนต่อวงจร

11.ตัวตันทานฟิล์มคาร์บอน(Carbon-Flim Resister)...เป็นตัวตัวต้านทานชนิดคาร์บอนอีกแบบหนึ่ง เป็นที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมากกว่าแบบคาร์บอนเพราะมีขนาดเล็กกว่า ผลิตโดยการฉาบหมึกคาร์บอนลงบนแท่งแก้วหรือแท่งเซรามิก แล้วจึงนำไปเผาเพื่อให้เกิดแผ่นฟิล์มคาร์บอนขึ้นมา เมื่อได้แผ่นฟิล์มที่เคลือบอยู่บนแท่งเซรามิกแล้วมีโลหะครอบปลายทั้งสองของคาร์บอนต่อออกมาเป็นขาตัวต้านทาน เคลือบผิวนอกสุดด้วยพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง ลักษณะตัวต้านทานฟิล์มคาร์บอน แสดงดังรูป 7ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน มีคุณสมบัติในการทำงานเหมือนกับตัวต้านทานคาร์บอน ข้อดีของตัวต้านทานชนิดนี้คือ ราคาที่ถูกกว่า มีข้อเสียคือ ไม่สามารถทนต่อแรงดันกระชากในช่วงเวลาสั้นๆ และมีค่าสัมประสิทธิ์ต่ออุณหภูมิที่ไม่ดี ช่วงพิสัยความต้านทานของตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอนจะมีค่าตั้งแต่ 10 โอห์ม ถึง 25 เมกกะโอห์ม มีค่าความผิดพลาดของความต้านทาน"5% และอัตราทนกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 0.1 ถึง 10 วัตต์

12.ตัวต้านทานวงจรรวม(Integrated - Circuit Resister)...อาจเรียกว่าตัวต้านทานไอซี (IC Resistor ) เป็นตัวต้านทานที่ผลิตจากซิลิคอนในรูปของสารกึ่งตัวนำ สามารถ สร้างตัวต้านทานในขนาดเล็กๆรวมไว้ด้วยกันได้จำนวนมากตัวในโครงสร้างเดี่ยวหรือใน IC ตัวเดียวได้ จึงช่วยให้สะดวกในการนำไปใช้งานมากขึ้น การต่อขาของตัวต้านทาน อาจต่อขาแยกเฉพาะตัวต้านทานแต่ละตัวก็ได้ หรือต่อตัวต้านทานเป็นวงจรไว้ภายในตัว IC และต่อขาออกมาในตำแหน่งที่ต้องการก็ได้ ลักษณะตัวต้านทานวงจรรวม

13.ตัวต้านทานแบบคงที่(Fixed Resistor)...ตัวต้านทานชนิดคงที่เป็นตัวต้านทานที่ผลิตขึ้นมามีค่าความต้านทานคงที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงไม่ได้ สามารถสร้างให้มีค่าความต้านทานกว้างมาก ตั้งแต่ค่าต่ำเป็นเศษส่วนของโอห์มไปจนถึงค่าสูงสุดเป็นเมกกะโอห์มขึ้นไป ผลิตมาใช้งานได้ทั้งประเภทโลหะและประเภทอโลหะ โดยเรียกตามวัสดุที่นำมาใช้ผลิต เช่น ไวร์วาวด์ ฟิล์มโลหะ คาร์บอนและฟิล์มคาร์บอน เป็นต้น ค่าทนกำลังไฟฟ้ามีตั้งแต่ 1/16 วัตต์ ถึงหลายร้อยวัตต์

14.ตัวต้านทานแบบแบ่งค่า(Tapped Resister)...ตัวต้านทานชนิดเลือกค่าได้ คือ ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ชนิดหนึ่ง มีค่าความต้านทานคงที่ตายตัวเหมือนตัวต้านทานแบบคงที่ ในตัวต้านทานแบบคงที่นี้มีการแบ่งค่าตัวต้านทานออกเป็นสองค่าหรือสามค่าภายในตัวต้านทานเพียงตัวเดียว ดังนั้นจึงมีขาต่อออกมาใช้งานมากกว่า 2 ขา เช่น 3 ขา 4 ขา และ 5 ขา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการเลือกใช้งาน

15.ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่า(Adjustable Resistor)...ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนแปรค่าได้ เป็นตัวต้านทานที่สามารถปรับเปลี่ยนความต้านทานได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ตั้งแต่ค่าความต้านทานต่ำสุด ไปจนถึงความต้านทานสูงสุดของตัวมันเองได้อย่างต่อเนื่อง โดยการใช้แกนหมุนหรือเลื่อนแกน ดังนั้นจึงมีโครงสร้างเป็นรูปโค้งเกือบเป็นวงกลม (แบบแกนหมุน) หรืออาจเป็นแท่งยาว (แบบเลื่อนแกน) มีขาออกมาใช้งาน 3 ขา ที่ขากลางเป็นตัวปรับเลื่อนค่าไปมาได้ วัสดุที่นำมาใช้เป็นตัวต้นทานชนิดเปลี่ยนแปรค่าได้จะใช้วัสดุประเภทเดียวกันกับตัวต้นทานชนิดค่าคงที่ คือแบบคาร์บอน และแบบไวร์วาวด์ รูปร่างและสัญลักษณ์ของตัวต้านทานชนิดนี้

16.ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้(Variable Resister)...ตัวต้านทานชนิดนี้เป็นตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์อีกชนิดหนึ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนค่าความต้นทานที่ต้องการใช้งานได้ โดยบนที่ตัวต้านทานชนิดนี้จะมีปลอกโลหะหลวมอยู่ และสามารถเลื่อนตำแหน่งเพื่อให้ได้ความต้านทานที่ต้องการ มีสกรูขันยึดปลอกโลหะให้สัมผัสแน่นกับเส้นลวดที่ตัวต้านทาน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเลื่อนเปลี่ยนตำแหน่ง การใช้งานของตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ จะใช้ค่าความต้านทานเฉพาะค่าใดค่าหนึ่งที่ปรับไว้เท่านั้น รูปร่างและสัญลักษณ์ของตัวต้นทานแบบเปลี่ยนค่า

17.ตัวต้านทานแบบพิเศษ(special Resister)... เป็นตัวต้านทานที่สร้างขึ้นมาใช้งานเฉพาะหน้าที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานได้ตามอุณหภูมิหรือความเข้มแสงที่มาตกกระทบตัวต้านทาน เช่น ฟิวส์รีซิสเตอร์ (Fuse Resistor) เทอร์มิสเตอร์ (Themistor) และแอลดีอาร์ (LDR;Light Dependent Resistor)เป็นต้น-1. ฟิวส์รีซิสเตอร์ (Fuse Resistor) เป็นตัวต้านทานที่ใช้ทำหน้าที่แทนฟิวส์ เพื่อป้องกันความเสียหายของวงจรเมื่อมีการกระจายกระแสไหลผ่านวงจรมากเกินค่าที่กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้ตัวต้านทานขาดทันที โดยทั่วๆ ไปตัวจ้านทานชนิดนี้จะมีค่าประมาณ 0 – 200 โอห์ม-2. เทอร์มิสเตอร์ หรือตัวต้านทานความร้อน(Themal Resistor)เป็นตัวต้านทานที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปค่าความต้านทานที่เปลี่ยนแปลงอาจไม่เป็นเชิงเส้น (Non – Linear) และแตกต่างกันตามชนิดของวัสดุที่นำมาใช้ผลิต โครงสร้างและส่วนประกอบภายในมักนำมาจากธาตุเยอรมันเนียมและซิลิคอน หรือโคบอลต์ นิกเกิล ทองแดง แพลทินัม เหล็ก และแมงกานีส เป็นต้น รูปร่างที่ผลิขึ้นมาใช้งานมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน เช่น รูปจาน แท่งทรงกระบอก ลูกประคำหรืออื่นๆ รูปร่างและสัญลักษณ์ของเทอร์มิสเตอร์ แสดงดังรูปที่13.16 คุณสมบัติของตัวเทอร์มิสเตอร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้งานมี 2 ชนิด คือ ชนิด NTC และชนิด PTC-3. แอลดีอาร์ (LDR) หรือ ตัวต้านทานพลังงานแสง (Photo Rs-sistor)เป็นตัวต้านทานที่สามารถเปลี่ยนสภาพการนำไฟฟ้าได้เมื่อมีความเข้มแสงมาตกกระทบตัวมัน คือ เมื่อแสงสว่างตกมากระทบน้อย LDR จะมีความต้านทานสูง และเมื่อแสงสว่างมาตกกระทบมาก LDR จะมีความต้านทานต่ำตัวต้านทานชนิดนี้จะทำมาจากวัสดุสารกึ่งตัวนำประเภทแคดเมียมซัลไฟด์ (CdS) หรือแคดเมียมซิลิไนด์ (CdSe) รูปร่างและสัญลักษณ์ของ LDR

18.เทอมีสเตอร์(Thermistor)...เทอร์มิสเตอร์ ( Thermistor ) เป็นตัวต้านทานชนิดหนึ่งที่คาความต้านทานสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป โครงสร้างของเทอร์มิสเตอร์ไม่มีรอยต่อของสารกึ่งตัวนำต่อชนกัน แต่เป็นคุณสมบัติของเนื้อสารที่มีผลเปลี่ยนแปลงความต้านทานไป เมื่อุณหภูมิที่ตัวเนื้อสารนั้นเปลี่ยนแปลง สารที่นำมาใช้ในการผลิตเทอร์มิสเตอร์มีหลายชนิด ปกติจะใช้พวกสนิมโลหะที่อาจเป็นชนิดเดียวหรือชนิดผสมก็ได้ สารที่ใช้ เช่น โคบอลต์ นิกเกิล แมงกานีส ทองแดง เหล็ก และสตรอนเทียม เป็นต้น รูปร่างของเทอร์มิสเตอร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้งานมีหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน รูปร่างของเทอร์มิสเตอร์ที่สร้างขึ้นมาใช้งาน เช่น แบบหยดน้ำ แบบโปรบแก้ว แบบแผ่นกลม แบบวงแหวน และแบบทรงกระบอก เป็นต้น รูปร่างลักษณะของเทอร์มิสเตอร์

19.ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าตามแสง(LDR->Light Dependent Resistor)...ตัวต้านทานเปลี่ยนค่าตามแสง ( Light Dependent Resistor ) ใช้อักษรตัวย่อ LDR มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน เช่น เซลล์ที่เป็นสื่อไฟฟ้าตามแสง ( Photo Conductive Cell ) หรืออุปกรณ์เปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานตามแสง ( Photoresistive Device ) เป็นอุปกรณ์ประเภทสารกึ่งตัวนำชนิด 2 ขั้วต่อ ที่ค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่อทั้งสอง สามารถเปลี่ยนค่าได้ตามความเข้มของแสงที่มาตกกระทบ โครงสร้างและสัญลักษณ์ของตัวต้านทานเปลี่ยนค่าตามแสง

20.โอห์ม(Ohm)...โอห์ม (อังกฤษ: ohm) (สัญลักษณ์ : Ω) เป็นหน่วยเอสไอ (SI) ของค่าอิมพีแดนซ์ทางไฟฟ้า ในกรณีของกระแสสลับ หรือค่าความต้านทานไฟฟ้า ในกรณีของกระแสตรง ตั้งชื่อตามจอร์จ โอห์ม นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน

21.มิลลิโอห์ม(Milliohm) ...สิบยกกำลังลบสาม -> mΩ

22.กิโลโอห์ม(Killohm)...สิบยกกำลังสาม -> kΩ

23.เมกโอห์ม(Megohm)...สิบยกกำลังหก -> MΩ

24.ประจุไฟฟ้า(Electric Charge)... เป็นคุณสมบัติพื้นฐานถาวรหนึ่งของอนุภาคซึ่งเล็กกว่าอะตอม (subatomic particle) เป็นคุณสมบัติที่กำหนดปฏิกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้า สสารที่มีประจุไฟฟ้านั้นจะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็จะได้รับผลกระทบจากสนามด้วยเช่นกัน ปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างประจุ และ สนาม เป็นหนึ่งในสี่ ของแรงพื้นฐาน เรียกว่า แรงแม่เหล็กไฟฟ้า

25.ประจุบวก(Positive Charge)...ประจุบวกที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ โปรตอน มีประจุ +1.6 x 10-19 C มีมวล 1.67 x 10-27 kg

26.ประจุลบ(Negative Charge)...ประจุลบที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ อิเลคตรอน มีประจุ -1.6 x 10-19 C มีมวล 9.1 x 10-31 kg

27.ศักย์ไฟฟ้า(Electric Potential)...ศักย์ไฟฟ้า หรือ เรียกว่าศักดาไฟฟ้า คือระดับของพลังงานศักย์ไฟฟ้า ณ จุดใดๆ ในสนามไฟฟ้า จากรูป ศักย์ไฟฟ้าที่ A สูงกว่าศักย์ไฟฟ้าที่ B เพราะว่าพลังงานศักย์ไฟฟ้าที่ A สูงกว่าที่ B ศักย์ไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือ ศักย์ไฟฟ้าบวก เป็นศักย์ของจุดที่อยู่ในสนามของประจุบวก และศักย์ไฟฟ้าลบ เป็นศักย์ของจุดที่อยู่ในสนามของประจุลบ ศักย์ไฟฟ้าจะมีค่ามากที่สุดที่ประจุต้นกำเนิดสนาม และมีค่าน้อยลง เมื่อห่างออกไป จนกระทั่งเป็นศูนย์ที่ ระยะอนันต์ (infinity) ในการวัดศักย์ไฟฟ้า ณ จุดใดๆ วัดจากจำนวนพลังงานศักย์ไฟฟ้า ที่เกิดจากการเคลื่อนประจุทดสอบ +1 หน่วย ไปยังจุดนั้น ดังนั้น จึงให้นิยามของศักย์ไฟฟ้าได้ว่าศักย์ไฟฟ้า ณ จุดใดๆ ในสนามไฟฟ้า คือ พลังงานนี้สิ้นเปลืองไปในการเคลื่อนประจุ ทดสอบ +1 หน่วยประจุจาก infinity มายังจุดนั้น หรือจากจุดนั้นไปยัง infinity ศักย์ไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโวลต์

28.ศักย์บวก(Positive Potential)...หมายถึง การมีประจุมากกว่าประจุลบ

29.ศักย์ลบ(Negative Potential)...หมายถึง การมีประจุลบมากกว่าประจุบวก

30.เส้นแรง(Line of Force)...เรากำหนด เพื่อความสะดวกในการศักษา ไม่มีปรากฏอยู่จริงๆ โดยกำหนดเป็นหลักให้เข้าใจตรงกันว่า เมื่อ วางประจุไฟฟ้าบวกอิสระ ลงในสนามไฟฟ้า ถ้าประจุไฟฟ้าบวกอิสระนั้น สามารถเคลื่อนที่ไปได้ แนวทางที่ประจุไฟฟ้าบวกอิสระนี้จะเคลื่อนที่ไป กำหนด ว่าเป็นเส้นแรงไฟฟ้า และทิศทางของเส้นสัมผัส ซึ่งสัมผัสแรงไฟฟ้าที่จุดใดๆ ก็คือ ทิศทางของสนามไฟฟ้า ณ จุดนั้น

31.ตัวเก็บประจุ(Capacitor)...เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน โดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีชนิดของประจุตรงข้ามกัน บางครั้งเรียกตัวเก็บประจุนี้ว่า คอนเดนเซอร์ (condenser) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญในงานอิเล็กทรอนิกส์ และพบได้แทบทุกวงจร

32.แผ่นตัวนำ(Conductive Plate)...สนามไฟฟ้าที่ชี้ออกจาก +Q เส้นลูกศรบาง คือ สนามไฟฟ้าที่ชี้เข้าประจุ –Q , ที่ด้านนอกแผ่นตัวนำทั้งสองสนามไฟฟ้าจะหักล้างกันหมด เหลือเฉพาะระหว่างแผ่นตัวนำทั้งสอง

33.ไดอิเล็กตริก(Dielectric)...เป็นสารที่ไม่นำไฟฟ้าหรือฉนวนเพื่อเปลี่ยนแปลงค่าความจุ เมื่อนำสารไดอิเล็กตริกใส่ระหว่างแผ่นตัวนำจะทำให้ค่าความจุเพิ่มขึ้นเป็น เท่า โดยค่า นี้เรียกว่าค่าคงที่ไดอิเล็กตริก (dielectric constant) พิจารณาแผ่นตัวนำแบบขนานซึ่งมีสุญญากาศกั้นระหว่างตัวนำ

34.การเก็บประจุ(Charge)...เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รู้จักทั่วไปว่าสามารถเก็บประจุได้ บางทีเรียกว่า คาปาซิเตอร์ ใช้สัญลักษณ์ย่อว่า C มีหน่วยเป็น ฟารัด (F)

35.การคายประจุ(Discharge)...ตัวเก็บประจุที่ถูกประจุแล้ว ถ้าเรายังไม่นำขั้วตัวเก็บประจุมาต่อกัน (ดังในรูป ก)อิเล็กตรอนก็ยังคงอยู่ที่แผ่นเพลต แต่ถ้ามีการครบวงจร ระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองเมื่อไร อิเล็กตรอนก็จะวิ่งจากแผ่นเพลตทางด้านลบ ไปครบวงจรที่แผ่นเพลตบวกทันที เราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "การคายประจุ"

36.ความจุ(Capacitance)...-1.สมบัติของสารตัวนำและสารไดอิเล็กทริกที่ยอมให้มีการสะสามประจุไฟฟ้าเมื่อเกิดความต่างศักดิ์ ค่าทีได้จะขึ้นอยู่กับสมบัติทางไฟฟ้าของสารไดอิเล็กทริก ความต่างศักย์ และความถี่ที่ป้อนให้-2.สมบัติของระบบตัวนำและฉนวนที่อนุญาตให้มีการเก็บประจุเมื่อมีความต่างศักย์เกิดขึ้นระหว่างตัวนำ สัญลักษณ์ C มีหน่วยเป็นฟารัด (farads, F)

37.คงที่(Constant)...ค่าคงที่คือการกำหนดตัวแปรที่มีค่าไม่เปลี่ยนแปลง ตลอด ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ คือ-1. ค่าคงที่แบบ User Defined เป็นค่าคงที่ที่เรากำหนดเอง ใช้เฉพาะแอพพลิเคชั่นของเรา โดยใช้คำสั่ง Constant ในการประกาศค่า มีรูปแบบดังนี้ Constant ชื่อค่าคงที่ As ชนิดข้อมูล = ค่าคงที่นั้น ตัวอย่าง Constant Pi As Double = 3.141578-2. ค่าคงที่แบบ Pre – Defined เป็นค่าคงที่ที่ Visual Basic กำหนดไว้แล้ว เราสามารถเรียกใช้ได้ทันที เช่น vbOkOnly , vbInformation , MsgBox

38.ตัวเก็บประจุชนิดกระดาษ(Paper Capacitor)...ตัวเก็บประจุชนิดกระดาษจะมีค่าความจะไม่สูงมากนัก ซึ่งจะเขียนบอกไว้ที่ข้างๆ ตัวเก็บประจุ คืออยู่ในพิสัยจาก 10 pF ถึง 10mF อัตราทนไฟสูงประมาณ 150 โวลต์ จนถึงหลายพันโวลต์ โดยมากนิยมใช้ในวงจรจ่ายกำลังไฟสูง

39.ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า (Mica Capacitor)...ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้แผ่นไมก้าเป็นฉนวนไดอิเล็กตริก ส่วนมากตัวเก็บประจุชนิดนี้จะถูกทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเพราะแผ่นไมก้าจะมีคุณสมบัติที่แข็งกรอบ โครงสร้างของมันจะประกอบด้วยแผ่นเพลตโลหะบางๆ อาจใช้หลายๆ แผ่นวางสลับซ้อนกัน แต่จะต้องคั่นด้วยฉนวนไมก้า ดังแสดงในรูป ซึ่งตัวเก็บประจุจะถูกหุ้มห่อด้วยฉนวนจำนวนเมกาไลท์ เพื่อป้องกันการชำรุดสึกหรอ

40.ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิก(Ceramic Capacitor)...ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิคจะมีรูปร่างแบบแผ่นกลม (Disc) และแบบรูปทรงกระบอก (Tubular) ซึ่งจะมีค่าความจุอยู่ในพิสัยจาก 1.5 pF ถึง 0.1 mF อัตราทนแรงไฟประมาณ 500 โวลต์

41.ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์มพลาสติก(Plastic Film Capacitor)...ตัวเก็บประจุชนิดพลาสติก แต่จะใช้ไดอิเล็กตริกที่เป็นแผ่นฟิล์มที่ทำมาจากโพลีเอสเตอร (Polyester) ไมลาร์ (Mylar) โพลีสไตรีน (Polystyrene) และอื่นๆ โดยนำมาคั่นระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองแผ่นแล้วม้วนพับให้มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก

42.ตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลัม(Tantalum Capacitor)...ตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลัม เป็นตัวเก็บประจุที่มีขนาดเล็กแต่มีค่าความจุสูง โครงสร้างของตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลัม ประกอบด้วยแผ่นโลหะบางของแทนทาลัม เคลือบแผ่นโลหะออกไซด์ (Tantalum Oxide) และเคลือบด้วยสารอิเล็กโตรไลต์เพื่อคั่นกลางแผ่นโลหะแทนทาลัมอีกชั้น ขาลวดตัวนำถูกต่อออกมาจากแผ่นโลหะแทนทาลัม ผิวด้านนอกสุดของตัวเก็บประจุถูกเคลือบด้วยสารประเภทพลาสติก ข้อดีของตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลัม คือ ทนทานต่อการใช้งาน ทนต่ออุณหภูมิและความชื้น ไม่เกิดกระแสรั่วไหลขณะนำไปใช้งาน แต่มีอัตราทนแรงดันต่ำ

43.ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโตรไลติก(Electrolytic Capacitor)...ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรลิติก เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้น้ำยาอิเล็กโทรไลท์เป็นแผ่นข้างหนึ่งแทนโลหะ และอีกแผ่นหนึ่งเป็นแผ่นโลหะมีเยื่อบางๆ ที่เรียกว่า "ฟิล์ม" (Film) หุ้มอยู่ เยื่อบางๆ นี้คือ ไดอิเล็กตริก หรือแผ่นกั้น

44.กระแสรั่วไหล(Leakage Current)... คือการที่จุด 2 จุด ในวงจรไฟฟ้า หรือส่วนของวงจรไฟฟ้าซึ่งมีศักดาไฟฟ้าต่างกัน (มีแรงดันไฟฟ้าต่างกัน) มาแตะหรือสัมผัสกัน หรือมีตัวนำซึ่งมีค่าความต้านทานต่ำ ๆ มาสัมผัสกันระหว่าง 2 จุดนั้นทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลระหว่าง 2 จุดนั้นจำนวนมาก (เกิดการถ่ายเทพลังงานกัน) เรียกว่าเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้น

45.ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้(Variable Capacitor)...ชื่อของตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ก็บอกกันชัดๆ แล้วนะครับว่า สามารถปรับค่าความจุของตัวเก็บประจุได้ ด้วยการ หมุนแกนของตัวเก็บประจุ ค่าความจุก็จะเปลี่ยนไปตามมุมที่หมุนด้วย โดยมากที่พบเห็นกันบ่อยๆ เขาใช้ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ ในวงจรเลือกคลื่นวิทยุทั่วๆ ไป

46.สเตเตอร์(Stator)... สเตเตอร์(Stator) หรือเรียกว่าโครงสร้างสนามแม่เหล็กซึ่งประกอบด้วยแผ่นเหล็กบางๆแน่มีร่องสำเร็จไว้ใส่ขดลวดเรียกวาช่องสลอต(slot) อัดเป็นปึกแผ่น อยู่ภายในกรอบโครง(Frame) ซึ่งเฟรมนั้น จะทำมาจากเหล็กหล่อ(Cast iron) หรือเหล็กเหนียว(Steel) ที่สเตเตอร์ของสปลิทเฟสมอเตอร์จะมีขดลวดพันอยู่ 2ชุด คือขดรันหรือขดเมน(Running Winding หรือ Main Winding) พันด้วยลวดเส้นใหญ่จำนวนรอบมาก ขดลวดรันนี้จะมีไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มสตาร์ทหรือทำงานปกติ ขดลวดชุดที่สอง สำหรับเริ่มหมุนหรือขดสตาร์ต(Starting winding)พันด้วยลวดเส้นเล็กและจำนวนรอบน้อยกว่าขดรันขดลวดสตาร์ท จะต่ออนุกรมอยู่กับสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางแล้วจึงนำไปต่อขนานกับขดรัน

47.โรเตอร์(Rotor)...โรเตอร์ทำด้วยแผ่นเหล็กบางๆ(Laminated)อัดซ้อนกันเป็นแกนและมีเพลาร้อยทะลุเหล็กบางๆเพื่อยึดให้แน่นรอบโรเตอร์นี้จะมีร่องไปตามทางยาวในร่องนี้จะมีทองแดงหรืออลูมิเนียมเส้นโตๆฝังอยู่โดยรอบปลายของทองแดงหรืออลูมิเนียมนี้จะเชื่อมติดอยู่กับวงแหวนทองแดงหรืออลูมิเนียม ซึ่งมีลักษณะคล้ายกรงกระรอกจึงเรียกชื่อว่าโรเตอร์กรงกระรอก(Squirrel cagerotor)

48.แก็ง(Gang)...

49.ทริมเมอร์(Trimmer)...ตัวเก็บประจุแบบทริมเมอร์ สามารถแยกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ชนิด คือ แบบหลายรอบ(multitum) แบบรอบเดียว (single turn) และแบบกดอัด (compression type) ตัวเก็บประจุแบบหลายรอบ ประกอบด้วย ไดอิเล็กตริกที่เป็นแก้ว ควอตซ์แซฟไฟร์ พลาสติก หรืออากาศ ในขณะที่แบบรอบเดียวใช้เซรามิก พลาสติก หรืออากาศเป็นไดอิเล็กตริกส่วนแบบกดอัด จะใช้ไมก้าเป็นไดอิเล็กตริก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น