วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่14)

คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่14)
1.วงจรตัวต้านทาน (Resistor Circuit)
...คือการต่อตัวต้านทานแต่ละตัวร่วมกัน โดยจัดในรูปวงจร สามารถจัดวงจรตัวต้านทานได้ 3 แบบ คือ วงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม วงจรตัวต้านทานแต่ละชนิดมีคุณสมบัติของวงจร

2. วงจรตัวต้านทานแบบอนุกรม (Series Resistor Circuit)
...เป็นการนำตัวต้านทานแต่ละตัวมาต่อเรียงลำดับกันไปชนิดหัวต่อท้ายเป็นลำดับไปเรื่อยๆ ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวต้านทานแบบนี้ ทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรเพิ่มขึ้นตามจำนวนตัวต้านทานที่นำนำมาต่อเพิ่ม

3.วงจรตัวต้านทานแบบขนาน (Parallel Resistor Circuit)
...เป็นการนำตัวต้านทานแต่ละตัวมาต่อคร่อมขนานกันทุกตัว มีจุดต่อคร่อมร่วมกัน 2 จุด การต่อต้วต้านทานแบบนี้ ทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรลดลง ได้ค่าความต้านทานรวมในวงจรน้อยกว่าค่าความต้านทานของตัวต้านทานตัวที่น้อยที่สุดในวงจร

4.วงจรตัวต้านทานแบบผสม (Compound Resistor Circuit)
...เป็นการต่อตัวต้านทานร่วมกันระหว่างการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน การต่อตัวต้านทานแบบผสมไม่มีมาตรฐานตายตัว เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรที่ต้องการ การหาค่าความต้านทานรวมของวงจร ให้ใช้วิธีการต่อวงจรแบบอนุกรมและต่อวงจรแบบขนานร่วมกัน

5. วงจรตัวเก็บประจุ (Capaciter Circuit)
...คือการต่อตัวเก็บประจุแต่ละตัวร่วมกัน โดยจัดในรูปแบวงจร สามารถจัดวงจรตัวเก็บประจุได้ 3 แบบ คือวงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม วงจรตัวเก็บประจุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติของวงจรแตกต่างกัน

6.วงจรตัวเก็บประจุแบบอนุกรม (Series Capacitor Circuit)
...เป็นการนำตัวเก็บประจุแต่ละตัวมาต่อเรียงลำดับกันไป ชนิดหัวต่อท้ายเป็นลำดับไปเรื่อยๆ ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวเก็บประจุแบบนี้ มีผลให้ฉนวนของตัวเก็บประจุมีความหนามากขึ้น แผ่นโลหะตัวนำ 2 แผ่นหัวท้ายของตัวเก็บประจุรวมห่างกัน มีผลให้ค่าความจุรวมของตัวเก็บประจุลดลง ค่าความจุรวมที่ได้มีค่าน้อยกว่าค่าความจุตัวที่น้อยที่สุดในวงจร

7.วงจรตัวเก็บประจุแบบขนาน (Parallel Capacitor Circuit)
...เป็นการนำตัวเก็บประจุแต่ละตัวมาต่อคร่อมขนานกันทุกตัว มีุจุดต่อร่วมกัน 2 จุด ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวเก็บประจุแบบนี้ เป็นการเพิ่มพื้นที่ของแผ่นโลหะตัวนำในตัวเก็บประจุรวมทำให้ค่าความจุของตัวเก็บประจุรวมเพิ่มขึ้น ค่าความจุรวมของวงจรหาได้จากผลบวกของค่าความจุในตัวเก็บประจุทุกตัวรวมกัน

8. วงจรตัวเก็บประจุแบบผสม (Compound Capacitor Circuit)
...เป็นการต่อตัวเก็บประจุร่วมกันระหว่างการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน การต่อตัวเก็บประจุแบบผสมไม่มีมาตรฐานแน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรที่ต้องการ การหาค่าความจุรวมของวงจร ให้ใช้วิธีการต่อวงจรแบบอนุกรมและการต่อวงจรแบบขนานร่วมกัน

9.วงจรตัวเหนี่ยวนำ (Inductor Circuit)
...คือการต่อตัวเหนี่ยวนำแต่ละตัวร่วมกัน โดยจัดในรูปแบบวงจร สามารถจัดวงจรตัวเหนี่ยวนำได้ 3 แบบ คือวงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม วงจรตัวเหนี่ยวนำแต่ละชนิดมีคุณสมบัติของวงจรแตกต่างกัน

10. วงจรตัวเหนี่ยวนำแบบอนุกรม (Series Inductor Circuit)
...เป็นการนำตัวเหนี่ยวนำแต่ละตัวมาต่อเรียงลำดับกันไป ชนิดตัวต่อท้ายเป็นลำดับไปเรื่อยๆ การต่อเหนี่ยวนำแบบนี้ ทำให้ค่าความเหนี่ยวนำรวมเพิ่มขึ้นตามจำนวนตัวเหนี่ยวนำที่นำมาต่อเพิ่ม การหาค่าความเหนี่ยวนำรวมในวงจรแบบอนุกรม

11. วงจรตัวเหนี่ยวนำแบบขนาน (Parallel Inductor Circuit)
...เป็นการนำตัวเหนี่ยวนำแต่ละตัวมาต่อคร่อมขนานกันทุกตัว มีจุดต่อร่วมกัน 2 จุด ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวเหนี่ยวนำแบบนี้ ทำให้ค่าความเหนี่ยวนำรวมของวงจรลดลง ให้ค่าความเหนี่ยวนำรวมในวงจรน้อยกว่าค่าความเหนี่ยวของตัวเหนี่ยวนำตัวที่มีค่าน้อยสุดในวงจร การหาค่าความเหนี่ยวนำรวมแบบขนาน

12. วงจรตัวเหนี่ยวนำแบบผสม (Compound Inductor Circuit)
...เป็นการต่อตัวเหนี่ยวนำร่วมกันระหว่างการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน การต่อตัวเหนี่ยวนำแบบผสมไม่มีมาตรฐานแน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรที่ต้องการ การหาค่าความเหนี่ยวนำรวมของวงจร ให้ใช้วิธีการต่อวงจรแบบอนุกรม และต่อวงจรแบบขนานร่วมกัน

13. แผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Boards)
...หรือแผนปริ๊นต์ เป็นแผ่นพลาสติกที่ผิวด้านหนึ่งถูกเคลือบด้วยแผ่นทองแดงบาง เพื่อใช้ทำลายวงจรพิมพ์ (Printed Circuit) ทำให้เกิดเป็นวงจรต่างๆ ตามต้องการ

14.ลายวงจรพิมพ์(Printed Circuit )
...ลายวงจรมีส่วนสำคัญต่อการใช้งาน เพราะการเขียนลายวงจรจะต้องคำนึงถึงของลายวงจร ให้เหมาะสมกับขนาดของกระแสที่ไหลผ่าน ลักษณะการเชื่อมต่อต้องเหมาะสมสวยงาม ถูกต้องตามหลักการ ขนาดของลายวงจรต้องไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป การเข้าโค้งลายวงจรควรต่อเข้ากึ่งกลางจุด ไม่ควรผ่านของริมจุดต่อ หรือกรณีจำเป็นต้องผ่านขอบริมจุดต่อลายวงจรจะต้องสัมผัสจุดต่อให้มากที่สุด ลักษณะลายวงจรพิมพ์และจุดต่อที่ถูกและผิด

15.วงจรสคีมเมติก(Schematic Circuit)
...

16.ตะกั่วบัดกรี (Solder)
...คือวัสดุที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานรอยต่อของสายไฟหรือขาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกัน หรือต่ออุปกร์อิเล็กทรอนิกส์เข้ากับลายวงจรพิมพ์ ส่วนประกอบของตะกั่วบัดกรีประกอบด้วยดีบอก (Tin) และตะกั่ว (Lead) ซึ่งมีส่วนผสมของสารทั้งสองแตกต่างกัน ถูกกำหนดออกมาเป็นเปอร์เซ็น ค่าที่บอกไว้ค่าแรกเป็นดีบุกเสมอ เช่น 70/30 หมายถึง ส่วนผสมประกอบด้วยดีบุก 70% และตะกั่ว 30% บางครั้งอาจเรียกเฉพาะค่าดีเท่านั้นก็ได้ ดังนั้นส่วนผสม 70/30 อาจเรียกว่าตะกั่วบัดกรีชนิดดีบุก 70%

17.ดีบุก ( Tin)
...คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 50 และสัญลักษณ์คือ Sn (มาจากคำในภาษาลาตินว่า Stannum) ดีบุกเป็นโลหะที่ไม่ดี หลอมเหลวได้ง่าย ทนต่อการกัดกร่อน และถูกอ๊อกซิไดซ์ในอากาศได้ดี พบในโลหะผสมหลายชนิด ใช้ประโยชน์ในการเคลือบโลหะเพื่อป้องกันการกันกร่อน ดีบุกส่วนใหญ่สกัดได้จากแร่แคสสิเตอร์ไรต์ (cassiterite)

18.ตะกั่ว (Lead)
...เป็นธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 82 และสัญลักษณ์คือ Pb (ละติน: Plumbum) ตะกั่วเป็นธาตุโลหะ เนื้ออ่อนนุ่มสามารถยืดได้ เมื่อตัดใหม่ๆ จะมีสีขาวอมน้ำเงิน แต่เมื่อถูกกับอากาศสีจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีพิษ ใช้ทำวัสดุก่อสร้าง แบตเตอรี่ กระสุนปืน โลหะผสม

19.ฟลักซ์(Flux)
...จำนวนเส้นแรงแม่เหล็กที่ผ่านทะลุพื้นที่ผิวสมมติแผ่นหนึ่งในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กใช้สัญลักษณ์ f ในบริเวณที่มีผลักซ์แม่เหล็กหนาแน่นมาก เป็นบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กที่มีค่ามาก

20. หัวแร้ง (Soldering Iron)
...ที่ใช้งานทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นหัวแร้งไฟฟ้า ทำหน้าที่ให้ความร้อนออกมาโดยใช้ไฟฟ้าจ่ายผ่านส่วนที่ทำให้กำเนิดความร้อน ส่งผ่านผ่านความร้อนไปยังหัวบัดกรี ส่วนหัวบัดกรีนี้เองเป็นตัวส่งผ่านความร้อนไปยังชิ้นงาน จนชิ้นงานเกิดความร้อนพอที่จะหลอมละลายตะกั่วบัดกรีได้ การบัดกรีที่ถูกต้องนอกจากหัวแร้งต้องร้อนพอที่จะหลอมละลายตะกั่วบัดกรีได้แล้ว ชิ้นงานที่จะบัดกรีก็ต้องร้อนพอที่จะหลอมละลายตะกั่วบัดกรีได้ด้วย ถ้าชิ้นงานขนาดเล็กสามารถใช้หัวแร้งมีกำลังไฟฟ้าต่ำได้ ถ้าชิ้นงานขนาดใหญ่หังแร้งต้องมีกำลังไฟฟ้าสูงขึ้นตามไปด้วย มิเช่นนั้นอาจทำให้การบัดกรีไม่สมบูรณ์ได้

21.หัวแร้งปืน (Soldering Gun)
...มีรูปร่างคล้ายปืน เป็นหัวแร้งที่เหมาะสมกับการบัดกรีงานขนาดใหญ่ ให้ความร้อนสูง การบัดกรีทำได้รวดเร็ว ไม่เหมาะสมกับการบัดกรีงานขนาดเล็ก การบัดกรีต้องระมัดระวังเรื่องความร้อนจะแผ่นไปถึงอุปกรณ์หรือชิ้นงาน เพราะอาจทำให้อุปกรณ์หรือชิ้นงานชำรุดเสียหายได้ การใช้งานทุกครั้งต้องกดไกสสวิตช์ค้างไว้ก่อนการใช้งานประมาณ 5 วินาที เพื่อให้ปลายหัวแร้งร้อนมากพอก่อนทำการบัดกรี ปลายหัวแร้งทำด้วยทองแดง และทองแดงเคลือบเหล็ก เช่นเดียวกับหัวแร้งแช่ แต่มีรูปร่างแตกต่างกัน

22.เครื่องดูดตะกั่ว(Solder Sucker)
...


คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่13)
1.สารกึ่งตัวนำชนิดP(P-Type Semiconductor)
...เป็นสารกึ่งตัวนำที่เกิดจากการจับตัวของอะตอมซิลิกอนกับอะตอมของอะลูมิเนียม ทำให้เกิดที่ว่างซึ่งเรียกว่า โฮล (Hole) ขึ้นในแขนร่วมของอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนข้างโฮลจะเคลื่อนที่ไปอยู่ในโฮลทำให้ดูคล้ายกับโฮลเคลื่อนที่ได้จึงทำให้กระแสไหลได้

2.สารกึ่งตัวนำชนิดN(N-Type Semiconductor)
...เป็นสารกึ่งตัวนำที่เกิดจากการจับตัวของอะตอมซิลิกอนกับอะตอมของสารหนู ทำให้มีอิเล็กตรอนเกินขึ้นมา 1 ตัว เรียกว่าอิเล็กตรอนอิสระซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในก้อนผลึกนั้นจึงยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลได้เช่นเดียวกับตัวนำทั่วไป

3.ไดโอด(Diode)
...เป็นการนำสารกึ่งตัวนำชนิดพีและสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น มาทำการต่อให้ติดกันตามหลักของวิชาฟิสิกส์ของแข็ง โดยไดโอดจะมีความต้านทานต่ำมาก และยอมให้กระแสไหลผ่านได้ เมื่อต่อให้ศักย์ไฟฟ้าที่ปลายพีสูงกว่าศักย์ไฟฟ้าที่ปลายเอ็น (ต่อปลายพีเข้ากับขั้วบวกและต่อปลายเอ็นเข้ากับขั้วลบ) หรือที่เรียกว่า ไบแอสตรง นั่นเอง แต่ถ้าเราต่อให้ที่ปลายพีมีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่าปลายเอ็น (ไบแอสกลับ) ไดโอดจะมีความต้านทานสูงมาก และไม่ยอมให้กระแสไหลผ่าน

4.ดีพลีชันริจิน(Depletion Region)
...การต่อชนสารกึ่งตัวนำทั้ง 3 ตอน ของทรานซิสเตอร์ ทำให้ระหว่างรอยต่อ PN แต่ละตอนเกิดค่าแบตเตอรี่สมมติหรือดีพลีชันริจิน ค่าดังกล่าวก็คือค่าความต้านทานตรงรอยต่อ ดีพลีชันริจินสามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ ตามการจ่ายแรงดันไบอัสให้รอยต่อส่วนที่ถูกจ่ายไบอัสตรงค่าดีพลีชันริจินจะลดลง และรอยต่อส่วนที่ถูกจ่ายไบอัสกลับค่าดีพลีชันริจินจะเพิ่มขึ้น

5.แอโนด(Anode)
...ถ้าขั้วนั้นเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น(จ่ายอิเล็คตรอน เช่น Zn -----> Zn2+ + 2e-)

6.แคโทด(Cathode)
...ถ้าเกิดปฏิกิริยารีดักชั่น(รับอิเล็คตรอน เช่น Cu2+ + 2e- -----> Cu)

7.ไบอัสตรง(Forward Bias)
...ให้ขา E เทียบกับขา B คือแงดันไบอัสที่ขาทั้งสองได้รับต้องไบอัสตรงทั้งคู่

8.ไบอัสกลับ(Reverse Bias)
...ให้ขา C อาจเทียบกับขา B หรือเทียบกับขา E ก็ได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการจัดวงจรขาร่วม ( Common Circuit ) ที่จัดวงจรให้ทรานซิสเตอร์ทำงาน

9.ซีนเนอร์ไดโอด(Zener Diode)
...เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่นำกระแสได้เมื่อได้รับไบอัสกลับ และระดับแรงดันไบอัสกลับที่นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานได้เรียกว่า ระดับแรงดันพังทลายซีเนอร์ (Zener Breakdown Voltage ; Vz) ซีเนอร์ไดโอดจะมีแรงดันไบอัสกลับ (Vr)น้อยกว่า Vz เล็กน้อย ไดโอดประเภทนี้เหมาะที่จะนำไปใช้ควบคุมแรงดันที่โหลดหรือวงจรที่ต้องการแรงดันคงที่ เช่น ประกอบอยู่ในแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง หรือโวลเทจเรกูเลเตอร์

10.ซีนเนอร์เบรกดาวน์(Zener Breakdown)
...ระดับแรงดันไบอัสกลับที่นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งาน

11.แรงดันซีเนอร์ เบรกดาวน์(Zener Breakdown Voltage)
...ระดับแรงดันไบอัสกลับที่นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานได้

12.ไดโอดเปล่งแสง(Light Emitting Diode)
...LED เป็นไดโอดที่ใช้สารประเภทแกลเลี่ยมอาร์เซ็นไนต์ฟอสไฟต์ (Gallium Arsenide Phosphide ; GaAsP) หรือสารแกลเลี่ยมฟอสไฟต์ (Gallium Phosphide ; GaP) มาทำเป็นสารกึ่งตัวนำชนิด p และ n แทนสาร Si และ Ge สารเหล่านี้มีคุณลักษณะพิเศษ คือ สามารถเรืองแสงได้เมื่อได้รับไบอัสตรง การเกิดแสงที่ตัว LED นี้เราเรียกว่า อิเล็กโทรลูมินิเซนต์ (Electroluminescence) ปัจจุบันนิยมใช้ LED แสดงผลในเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคิดเลข,นาฬิกา เป็นต้น

13.แสงอินฟาเรด(Infrared Light)
...

14.แสงที่ตาคนมองเห็น(Visible Light)
... เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในช่วงซึ่งประสาทตาของมนุษย์สามารถสัมผัสได้ ซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 400 – 700 นาโนเมตร (1 เมตร = 1,000,000,000 นาโนเมตร) หากนำแท่งแก้วปริซึม (Prism) มาหักเหแสงอาทิตย์ เราจะเห็นว่าแสงสีขาวถูกหักเหออกเป็นสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง คล้ายกับสีของรุ้งกินน้ำ เรียกว่า “สเปคตรัม” (Spectrum) แสงแต่ละสีมีความยาวคลื่นแตกต่างกัน สีม่วงมีความยาวคลื่นน้อยที่สุด สีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุด

15.แสงที่ตาคนมองไม่เห็น(Invisible Light)
...เพราะเป็นแสงที่อยู่ในย่านแสงอินฟาเรด ซึ่งขณะเปล่งแสงออกมาตาคนจะมองไม่เห็น ไดโอดเปล่งแวงชนิดนี้เรียกว่า อินฟาเรดอิมิตติ้งไดโอด

16.ทรานซิสเตอร์(Transistor)
...คือ สิ่งประดิษฐ์ทำจากสารกึ่งตัวนำมีสามขา (TRREE LEADS) กระแสหรือแรงเคลื่อน เพียงเล็กน้อยที่ขาหนึ่งจะควบคุมกระแสที่มีปริมาณมากที่ไหลผ่านขาทั้งสอง ข้างได้ หมายความว่าทรานซิสเตอร์เป็นทั้งเครื่องขยาย (AMPLIFIER) และสวิทซ์ทรานซิสเตอร์

17.ฟิลเอฟเฟคทรานซิสเตอร์(Field Effect Transistor)
...เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนําชนิดขั้วเดียว ( Unipolar ) มีลักษณะโครงสร้างและหลักการทํางานแตกต่างไปจากทรานซิสเตอร์เพราะทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนําชนิดสองขั้ว การทํางานของทรานซิสเตอร์ต้องอาศัยกระแสช่วยควบคุมการทํางาน ทั้งกระแสอิเล็กตรอนและกระแสโฮลเฟตเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนําอีกชนิดที่นิยมนํามาใช้งานในการขยายสัญญาณ และใช้งานในหน้าที่ต่าง ๆเช่นเดียวกับ ทรานซิสเตอร์นับวันเฟตยิ่งมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการนําไปใช้งาน

18.ขั้วเดียว(Unipolar)
...

19.สองขั้ว(Bipolar)
...

20.จังชันเฟต(Junction FET)
...หรือเรียกง่ายๆว่า เจเฟต แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดพีแชนแนล และชนิดเอ็นแชนแนล

21.ดีพลีชันมอสเฟต(Depletion MOSFET)
...หรือ D-MOSFET แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดPแชนแนล และชนิด Nแชลแนล

22.เอนฮานซ์เมนต์มอสเฟต(Enhancement MOSFET)
...หรือ E-MOSFET แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดPแชนแนล และชนิด Nแชลแนล

23.ซิลิคอนไดออกไซต์(Silicon Dioxide)
...

24.คุณสมบัติ(Characteristics)
...

25.แชนแนล(Channel)
...


คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่12)
1.สวิตช์(Switch)
...เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่พบการใช้งานได้บ่อย หน้าที่ของสวิตช์ คือ ใช้ตัดต่อวงจรไฟฟ้าเพื่อให้มีการจ่ายแรงดันเข้าวงจร หรืองดจ่ายแรงดันเข้าวงจร จะมีแรงดันจ่ายเข้าวงจรเมื่อสวิตช์ต่อวงจร (Close Circuit) และไม่มีแรงดันจ่ายเข้าวงจรเมื่อสวิตช์ตัดวงจร (Open Circuit)

2.ต่อวงจร(Close Circuit)
...กระแสไฟฟ้าไหลออกจากแหล่งกำเนิด ผ่านไปตามสายไฟ แล้วผ่านสวิทช์ไฟซี่งแตะกันอยู่ (ภาษาพูดว่าเปิดไฟ) แล้วกระแสไฟฟ้าไหลต่อไปผ่านดวงไฟ แล้วไหลกลับมาที่แหล่งกำเนิดอีกจะเห็นได้ว่ากระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้ครบวงจร หลอดไฟจึงติด

3.ตัดวงจร(Open Circuit)
...วงจรเปิด ไฟจะไม่ติดเพราะว่า ไฟออกจากแหล่งกำเนิดก็จะไหลไปตาม สายพอไปถึงสวิทช์ซึ่งเปิดห่างออกจากกัน (ภาษาพูดว่าปิดสวิทช์) ไฟฟ้าก็จะผ่านไปไม่ได้ กระแสไฟฟ้าไม่สามารถจะไหลผ่านให้ครบวงจรได้

4.1ขั้ว1ทาง(SPST->Single-Pole Single-Throw)
...ทำหน้าที่ปิด-เปิดวงจร

5.1ขั้ว2ทาง(SPDT->Single-Pole Double-Throw)
...ทำหน้าที่เปิ-ปิดวงจร ได้ 2 ชุดพร้อมกัน

6.2ขั้ว1ทาง(DPST->Double-Pole Single-Throw)
...ทำหน้าที่เปิด-ปิดวงจร การใช้ขา 2 ขาหรือจะใช้เป็นสวิตช์เลือก 2 ทาง

7.2ขั้ว2ทาง(DPDT->Double-Pole Double-Throw)
...ทำหน้าที่เปิ-ปิดวงจร ได้ 2 ชุดพร้อมกันโดยใช้ขา 4 ขาและสามารถใช้แทนสวิตช์แบบทางเดียว 2 ขั้วได้

8.สวิตช์ก้านยาว(Toggle Switch)
...เป็นสวิตช์ที่เวลาใช้งานต้องโยกก้านสวิตช์ไปมาโดยมีก้านสวิตช์โยกยื่นยาวออกมาจากตัวสวิตช์ การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยโยกก้านสวิตช์ให้ขึ้นบนหรือลงล่าง ในการโยกก้านสวิตช์ขึ้นมักจะเป็นการต่อ (ON) และโยกก้านสวิตช์ลงมักจะเป็นการตัด (OFF)

9.สวิตช์กระดก(Rocker Switch)
...เป็นสวิตช์ที่มีปุ่มกระดกยื่นออกมาจากตัวสวิตช์เล็กน้อย การควบคุมตัดต่อสวิตช์เล็กน้อย การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยกดผลักขึ้นบนหรือล่าง กดผลักด้านบนจะเป็นการต่อ (ON) กดผลักด้านล้างจะเป็นการตัด (OFF)

10.สวิตช์กด(Push Button Switch)
...เป็นสวิตช์ที่เวลาใช้งานต้องกดปุ่มสวิตช์ลงไป การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ต้องกดปุ่มที่อยู่ส่วนกลางสวิตช์ กดปุ่มสวิตช์หนึ่งครั้งสวิตช์ต่อ (ON) และเมื่อกดปุ่มสวิตช์อีกหนึ่งครั้งสวิตช์ตัด (OFF) การทำงานเป็นเช่นนี้ตลอดเวลา แต่สวิตช์แบบกดบางแบบอาจเป็นชนิดกดติดปล่อยดับ (Momentary) คือขณะกดปุ่มสวิตช์เป็นการต่อ (ON) เมื่อปล่อยมือออกจากปุ่มสวิตช์เป็นการตัด (OFF) ทันที

11.สวิตช์เลื่อน(Slide Switch)
...เป็นสวิตช์ที่ต้องเลื่อนก้านสวิตช์ไปมา ก้านสวิตช์ยื่นยาวออกมาจากตัวสวิตช์เล็กน้อย การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยผลักเลื่อนสวิตช์ขึ้นบนหรือลงล่าง การเลื่อนสวิตช์ขึ้นบนเป็นการต่อ (ON) การเลื่อนสวิตช์ลงล่างเป็นการตัด (OFF)

12.สวิตช์หมุน(Rotary Switch)
...หรือเรียกว่าสวิตช์แบบเลือกค่า (Selector Switch) เป็นสวิตช์ที่ต้องหมุนก้านสวิตช์ไปโดยรอบเป็นวงกลม สามารถเลือกตำแหน่งการตัดต่อได้หลายตำแหน่ง มีหน้าสัมผัสสวิตช์ให้เลือกต่อมากหลายตำแหน่ง เช่น 2, 3, 4 หรือ 5 ตำแหน่ง เป็นต้น

13.สวิตช์ดิพ(DIP Switch)
...คำว่าดิพ (DIP) มาจากคำเต็มว่าดูอัลอินไลน์แพกเกจ (Dual Inline Package) เป็นสวิตช์ขนาดเล็กใช้งานร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นในรูปชิพ (Chip) ที่มีขนาดเล็กๆ หรือใช้งานกับไอซี (IC = Integrated Circuit) ลักษณะสวิตช์สามารถตัดหรือต่อวงจรได้ การควบคุมตัดต่อสวิตช์แบบดิพจะต้องใช้ปลายมปากกาหรือปลายดินสอในการปรับเลื่อนสวิตช์ สวิตช์แบบดิพมักถูกติดตั้งบนแผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Cricuit Board) ใช้กับกระแสไม่เกิน 30mA ที่แรงดัน 30VDC

14.สวิตช์เลือกค่า(Selector Switch)
...มีใช้มากในงานที่ต้องควบคุมการทำงานด้วยมือ แสดงตัวอย่างของสวิตช์เลือกแบบ 3 ตำแหน่ง และตารางแสดงการทำงานของสวิตช์เลือกเครื่องหมาย X ในตารางแทนด้วยหน้าสัมผัสปิด สวิตช์เลือกมี 3 ตำแหน่งคือ ตำแหน่งหยุด (off) ตำแหน่งมือ (hand ) และ ตำแหน่งออโต (automatic)ในตำแหน่งหยุดหน้าสัมผัสทุกอันจะปิดหมด (ลูกศรชี้) ส่วนในตำแหน่งมือหน้าสัมผัส A1 จะปิด หน้าสัมผัส A2 จะเปิด และในตำแหน่งออโตหน้าสัมผัส A2 จะปิดหน้าสัมผัส A1 จะเปิด

15.ไมโครสวิตช์(Microswitch)
...คือสวิตช์แบบกดชนิดกดติดปล่อยดับนั่นเอง แต่เป็นสวิตช์ที่สามารถใช้แรงจำนวนน้อยๆ กดปุ่มสวิตช์ได ก้านสวิตช์แบบไมโครสวิตช์มีด้วยกันหลายแบบ อาจเป็นปุ่มกดเฉยๆ หรืออาจมีก้านแบบโยกได้มากดปุ่มสวิตช์อีกทีหนึ่ง การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยกดปุ่มสวิตช์หรือกดก้านคันโยกเป็นการต่อ (ON) และเมื่อปล่อยมือออกจากปุ่มหรือก้านคันโยกเป็นการตัด (OFF)

16.รีเลย์(Relay)
... รีเลย์เป็นสวิตช์แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Swich) ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อหรือเปิดวงจรการทำงานจะดึงหน้าสัมผัสเข้าหาหรือให้หนีออกจากอีกข้างหนึ่ง ดังแสดงในรูปแสดงสัญลักษณ์และรูปลักษณะของรีเลย์ โดยในรูป (ก) แสดงรีเลย์แบบปกติเปิด (Normally Open Relay, NO) ส่วนรูป (ข) เป็นรีเลย์แบบปกติปิด (Normally Closed Relay, NC)

17.กลไก(Mechanical)
...

18.สวิตช์หน้าสัมผัส(Contact Switch)
...เพราะใช้ IC Timer 555(ไอซีนิยมใช้กันมาก) โดยมันเป็นวงจรง่ายๆ เมื่อpin 2 ของ IC 555 ต่อกับแผ่นโลหะ แล้วท่านแตะโดนแผ่นโลหะนั้น ก็จะทำให้ LED สว่างนานประมาณ 1 วินาที โดยวงจรนี้ จะใช้งานได้ดีในบ้าน ซึ่งไม่ถูกรบกวนจากสัญญาณวิทยุอื่นๆ ก็นับว่าเป็นวงจรที่น่าสนุกดี หรือ ท่านจะประยุกต์ใช้เป็นวงจรกันขโมยก็ได้

19.ปกติเปิด (NO->Normal Open)
...คือสวิทช์ขาปกติวงจรเปิด (ปกติกระแสไฟไม่เดิน)

20.ปกติปิด(NC->Normal Close)
...คือสวิทช์ขาปกติวงจรปิด (ปกติกระแสไฟเดิน)

21.ไมโครโฟน(Microphone)
...ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ที่สร้างจากขดลวดเคลื่อนที่ โดยการทำงานจะอาศัยการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Induction) เพื่อที่จะเปลี่ยนคลื่นเสียงไปเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า จากที่ทราบว่าเสียงที่เราได้ยินนั้นเกิดจากการเคลื่อนที่ของคลื่นความดันผ่านอากาศ ซึ่งการที่จะให้เกิดคลื่นความดันในลักษณะเช่นนี้ สามารถทำได้โดยใช้เส้นเชือกที่ขึงให้ตึง ผิวเนื้อเยื่อแผ่นบางๆ หรืออาจเป็นกล่องเสียงในลำคอของมนุษย์ และทำให้สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้เกิดการสั่นซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอัดหรือขยายของโมเลกุลอากาศ ดังแสดงในรูป เป็นตัวอย่างของการทำให้เส้นเชือกที่ถูกขึงให้ตึงเกิดการสั่นกลับไปกลับมา ผลของการสั่นจะทำให้เกิดย่านความดันอากาศสูงสุด

22.เฮิร์ต(Hertz)
...หน่วยของความถี่

23.ไดนามิกไมโครโฟน(Dynamic Microphone)
...เป็นไมโครโฟนที่ใช้กันทั่วไปในงานระบบเสียงปัจจุบันนี้ มีลักษณะการทำงานกลับกับการทำงานของลำโพง เมื่อมีเสียงมากระทบที่ไดอะแฟรม (Diaphragm) ทำให้เกิดการสั่นและเคลื่อนไหวเข้าออกของมูฟวิ่งคอยล์ที่พันอยู่รอบๆ กรวยไดอะแฟรมจึงเกิดการตัดกันของสนามแม่เหล็ก และเกิดการเหนี่ยวนำกลายเป็นกระแสไฟฟ้าขนาดเล็กส่งออกมาตามขดลวด ขนาดความแรงของสัญญาณไฟฟ้าและทิศทางขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวของขดลวดไดนามิกไมโครโฟนมีความแข็งแรงทนทานสูง ราคาไม่แพงและเป็นที่นิยมใช้ทั่วไป ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้มีการใช้ไดนามิกไมโครโฟนกันมากในระบบเสียงงานเวที หรือในงานระบบเสียงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพลังงานอคูสติกสูงและบ่อยครั้ง ไดนามิกไมโครโฟนยังมีความคงทนต่อองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นอุณหภูมิ และสภาพแสงแดดได้อย่างดี

24.คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน(Condencer Microphone)
...คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน ต้องมีไฟเลี้ยงจ่ายให้อยู่ตลอดเวลาที่มีการใช้งานซึ่งอยู่ระหว่าง 9-48 โวลท์ที่มาจากแบตเตอรี่ที่บรรจุเข้าไปในตัวไมโครโฟน หรือจาก มิกเซอร์โดยผ่านทางสายไมโครโฟน หลัการทำงานคือเมื่อมีการเคลื่อนไหวเข้าใกล้และห่างออกจากกันระหว่างไดอะแฟรมกับแบคเพรท (Back plate) โดยแบคเพรทจะอยู่กับที่และส่วนที่เป็นไดอะแฟรมจะเคลื่อนไหวตามเสียงที่เข้ามา จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณสมบัติทางประจุไฟฟ้าและทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นซึ่งมีขนาดเล็กมาก ซึ่งจะถูกนำไปขยายโดยภาคขยายเล็กๆ ซึ่งซ่อนอยู่เพื่อขยายสัญญาณและเพื่อแยกค่าอิมพีเด้นของไมโครโฟนออกจากค่าอิมพีเด้นที่ต่ำที่ตัวไมโครโฟนต่ออยู่คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟนมีคุณสมบัติทางเสียงที่ดีเหมือนธรรมชาติ ใช้กับงานที่ต้องการการตอบสนองทาง Transient เช่น เครื่องดนตรีที่เป็นพวก Percussion และนิยมใช้กันมากในห้องบันทึกเสียง และงานทั่วไป ความทนทานจะสู้ไดนามิกไมโครโฟนไม่ได้ ไวต่อการเสียหายเมือมีการกระแทกของเสียง การกระทบกระเทือนอย่างแรง และสภาพแวดล้อม เช่นความชื้น ราคาจะสูงกว่าไดนามิกไมโครโฟน

25.ลำโพง(Loundspeaker)
...ลำโพงเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณแรงดันไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียง เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี ให้เราได้ยินผ่านทางวิทยุ หรือโทรทัศน์ เป็นต้น ลำโพงโดยทั่วไปจะเป็นแบบแม่เหล็กถาวร นั่นคือ การทำงานจะอาศัยหลักการของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ลำโพงที่พบกันโดยทั่วไปจะถูกสร้างจากแม่เหล็กถาวรทำงานร่วมกับแม่เหล็กไฟฟ้า ดังแสดงในรูป (ก) โดยที่บริเวณฐานของตัวลำโพงจะประกอบไปด้วยไดอะแฟรมซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแผ่นกระดาษบางๆ ยึดติดอยู่กับกระบอกลวงและมีขดลวดพันอยู่รอบๆ ซึ่งจะใช้เป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าให้เกิดขึ้น ซึ่งการจัดลักษณะแบบนี้เป็นการให้ขั้วแม่เหล็กถาวรขั้วหนึ่งปรากฏอยู่ภายในกระบอกกลวงที่มีขดลวดพันอยู่รอบๆ นี้ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดในทิศทางหนึ่ง จะทำให้เกิดแรงปฏิกิริยาต่อกันระหว่างสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กถาวร กับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด ส่งผลให้ตัวกระบอกเคลื่อนที่ไปทางด้านขวา ดังแสดงในรูป (ข) แต่ถ้าในกรณีที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดในทิศทางตรงกันข้ามกับตอนแรกก็จะมีผลให้ตัวกระบอกเคลื่อนที่ไปทางด้านซ้าย ดังแสดงในรูป (ค) การเคลื่อนที่ของกระบอกกลวงที่ถูกพันด้วยขดลวดนี้จะทำให้ไดอะแฟรมซึ่งสามารถยืดหดได้เกิดการเคลื่อนที่เข้าออก โดยทิศทางของการเคลื่อนที่จะขึ้นอยู่กับทิศทางของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าไปในขดลวด สำหรับปริมาณของกระแสไฟฟ้านั้นจะเป็นตัวกำหนดความเข้ม ของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น ซึ่งก็หมายถึงการควบคุมการเคลื่อนที่ของไดอะแฟรมนั่นเอง

26.ลำโพงฮอร์น(Horn Speaker)
...เป็นลำโพงที่มีขนาดใหญ่ใช้ในการกระจายเสียงทั่วไป มีโครงสร้างเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหน้าเรียกว่า ฮอร์น(Horn) มีลักษณะเป็นกรวยโลหะปากกว้าง หรือเรียกกันทั่วๆไปว่า ดอกลำโพง ส่วนหลังเรียกว่า ไดรเวอร์ยูนิต(Driver Unit) เป็นส่วนที่ประกอบด้วยแม่เหล็กถาวร และขดลวดเสียง ซึ่งพันอยู่บนแผ่นไดอะเฟรม มีขนาดอิมพิแดนซ์ 8 โอห์ม และ 16 โอห์ม ลำโพงฮอร์นให้เสียงในระดับปานกลางแต่สามารถไปได้ไกล จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งนอกสถานที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น