วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่14)

คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่14)
1.วงจรตัวต้านทาน (Resistor Circuit)
...คือการต่อตัวต้านทานแต่ละตัวร่วมกัน โดยจัดในรูปวงจร สามารถจัดวงจรตัวต้านทานได้ 3 แบบ คือ วงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม วงจรตัวต้านทานแต่ละชนิดมีคุณสมบัติของวงจร

2. วงจรตัวต้านทานแบบอนุกรม (Series Resistor Circuit)
...เป็นการนำตัวต้านทานแต่ละตัวมาต่อเรียงลำดับกันไปชนิดหัวต่อท้ายเป็นลำดับไปเรื่อยๆ ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวต้านทานแบบนี้ ทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรเพิ่มขึ้นตามจำนวนตัวต้านทานที่นำนำมาต่อเพิ่ม

3.วงจรตัวต้านทานแบบขนาน (Parallel Resistor Circuit)
...เป็นการนำตัวต้านทานแต่ละตัวมาต่อคร่อมขนานกันทุกตัว มีจุดต่อคร่อมร่วมกัน 2 จุด การต่อต้วต้านทานแบบนี้ ทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรลดลง ได้ค่าความต้านทานรวมในวงจรน้อยกว่าค่าความต้านทานของตัวต้านทานตัวที่น้อยที่สุดในวงจร

4.วงจรตัวต้านทานแบบผสม (Compound Resistor Circuit)
...เป็นการต่อตัวต้านทานร่วมกันระหว่างการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน การต่อตัวต้านทานแบบผสมไม่มีมาตรฐานตายตัว เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรที่ต้องการ การหาค่าความต้านทานรวมของวงจร ให้ใช้วิธีการต่อวงจรแบบอนุกรมและต่อวงจรแบบขนานร่วมกัน

5. วงจรตัวเก็บประจุ (Capaciter Circuit)
...คือการต่อตัวเก็บประจุแต่ละตัวร่วมกัน โดยจัดในรูปแบวงจร สามารถจัดวงจรตัวเก็บประจุได้ 3 แบบ คือวงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม วงจรตัวเก็บประจุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติของวงจรแตกต่างกัน

6.วงจรตัวเก็บประจุแบบอนุกรม (Series Capacitor Circuit)
...เป็นการนำตัวเก็บประจุแต่ละตัวมาต่อเรียงลำดับกันไป ชนิดหัวต่อท้ายเป็นลำดับไปเรื่อยๆ ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวเก็บประจุแบบนี้ มีผลให้ฉนวนของตัวเก็บประจุมีความหนามากขึ้น แผ่นโลหะตัวนำ 2 แผ่นหัวท้ายของตัวเก็บประจุรวมห่างกัน มีผลให้ค่าความจุรวมของตัวเก็บประจุลดลง ค่าความจุรวมที่ได้มีค่าน้อยกว่าค่าความจุตัวที่น้อยที่สุดในวงจร

7.วงจรตัวเก็บประจุแบบขนาน (Parallel Capacitor Circuit)
...เป็นการนำตัวเก็บประจุแต่ละตัวมาต่อคร่อมขนานกันทุกตัว มีุจุดต่อร่วมกัน 2 จุด ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวเก็บประจุแบบนี้ เป็นการเพิ่มพื้นที่ของแผ่นโลหะตัวนำในตัวเก็บประจุรวมทำให้ค่าความจุของตัวเก็บประจุรวมเพิ่มขึ้น ค่าความจุรวมของวงจรหาได้จากผลบวกของค่าความจุในตัวเก็บประจุทุกตัวรวมกัน

8. วงจรตัวเก็บประจุแบบผสม (Compound Capacitor Circuit)
...เป็นการต่อตัวเก็บประจุร่วมกันระหว่างการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน การต่อตัวเก็บประจุแบบผสมไม่มีมาตรฐานแน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรที่ต้องการ การหาค่าความจุรวมของวงจร ให้ใช้วิธีการต่อวงจรแบบอนุกรมและการต่อวงจรแบบขนานร่วมกัน

9.วงจรตัวเหนี่ยวนำ (Inductor Circuit)
...คือการต่อตัวเหนี่ยวนำแต่ละตัวร่วมกัน โดยจัดในรูปแบบวงจร สามารถจัดวงจรตัวเหนี่ยวนำได้ 3 แบบ คือวงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม วงจรตัวเหนี่ยวนำแต่ละชนิดมีคุณสมบัติของวงจรแตกต่างกัน

10. วงจรตัวเหนี่ยวนำแบบอนุกรม (Series Inductor Circuit)
...เป็นการนำตัวเหนี่ยวนำแต่ละตัวมาต่อเรียงลำดับกันไป ชนิดตัวต่อท้ายเป็นลำดับไปเรื่อยๆ การต่อเหนี่ยวนำแบบนี้ ทำให้ค่าความเหนี่ยวนำรวมเพิ่มขึ้นตามจำนวนตัวเหนี่ยวนำที่นำมาต่อเพิ่ม การหาค่าความเหนี่ยวนำรวมในวงจรแบบอนุกรม

11. วงจรตัวเหนี่ยวนำแบบขนาน (Parallel Inductor Circuit)
...เป็นการนำตัวเหนี่ยวนำแต่ละตัวมาต่อคร่อมขนานกันทุกตัว มีจุดต่อร่วมกัน 2 จุด ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวเหนี่ยวนำแบบนี้ ทำให้ค่าความเหนี่ยวนำรวมของวงจรลดลง ให้ค่าความเหนี่ยวนำรวมในวงจรน้อยกว่าค่าความเหนี่ยวของตัวเหนี่ยวนำตัวที่มีค่าน้อยสุดในวงจร การหาค่าความเหนี่ยวนำรวมแบบขนาน

12. วงจรตัวเหนี่ยวนำแบบผสม (Compound Inductor Circuit)
...เป็นการต่อตัวเหนี่ยวนำร่วมกันระหว่างการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน การต่อตัวเหนี่ยวนำแบบผสมไม่มีมาตรฐานแน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรที่ต้องการ การหาค่าความเหนี่ยวนำรวมของวงจร ให้ใช้วิธีการต่อวงจรแบบอนุกรม และต่อวงจรแบบขนานร่วมกัน

13. แผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Boards)
...หรือแผนปริ๊นต์ เป็นแผ่นพลาสติกที่ผิวด้านหนึ่งถูกเคลือบด้วยแผ่นทองแดงบาง เพื่อใช้ทำลายวงจรพิมพ์ (Printed Circuit) ทำให้เกิดเป็นวงจรต่างๆ ตามต้องการ

14.ลายวงจรพิมพ์(Printed Circuit )
...ลายวงจรมีส่วนสำคัญต่อการใช้งาน เพราะการเขียนลายวงจรจะต้องคำนึงถึงของลายวงจร ให้เหมาะสมกับขนาดของกระแสที่ไหลผ่าน ลักษณะการเชื่อมต่อต้องเหมาะสมสวยงาม ถูกต้องตามหลักการ ขนาดของลายวงจรต้องไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป การเข้าโค้งลายวงจรควรต่อเข้ากึ่งกลางจุด ไม่ควรผ่านของริมจุดต่อ หรือกรณีจำเป็นต้องผ่านขอบริมจุดต่อลายวงจรจะต้องสัมผัสจุดต่อให้มากที่สุด ลักษณะลายวงจรพิมพ์และจุดต่อที่ถูกและผิด

15.วงจรสคีมเมติก(Schematic Circuit)
...

16.ตะกั่วบัดกรี (Solder)
...คือวัสดุที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานรอยต่อของสายไฟหรือขาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกัน หรือต่ออุปกร์อิเล็กทรอนิกส์เข้ากับลายวงจรพิมพ์ ส่วนประกอบของตะกั่วบัดกรีประกอบด้วยดีบอก (Tin) และตะกั่ว (Lead) ซึ่งมีส่วนผสมของสารทั้งสองแตกต่างกัน ถูกกำหนดออกมาเป็นเปอร์เซ็น ค่าที่บอกไว้ค่าแรกเป็นดีบุกเสมอ เช่น 70/30 หมายถึง ส่วนผสมประกอบด้วยดีบุก 70% และตะกั่ว 30% บางครั้งอาจเรียกเฉพาะค่าดีเท่านั้นก็ได้ ดังนั้นส่วนผสม 70/30 อาจเรียกว่าตะกั่วบัดกรีชนิดดีบุก 70%

17.ดีบุก ( Tin)
...คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 50 และสัญลักษณ์คือ Sn (มาจากคำในภาษาลาตินว่า Stannum) ดีบุกเป็นโลหะที่ไม่ดี หลอมเหลวได้ง่าย ทนต่อการกัดกร่อน และถูกอ๊อกซิไดซ์ในอากาศได้ดี พบในโลหะผสมหลายชนิด ใช้ประโยชน์ในการเคลือบโลหะเพื่อป้องกันการกันกร่อน ดีบุกส่วนใหญ่สกัดได้จากแร่แคสสิเตอร์ไรต์ (cassiterite)

18.ตะกั่ว (Lead)
...เป็นธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 82 และสัญลักษณ์คือ Pb (ละติน: Plumbum) ตะกั่วเป็นธาตุโลหะ เนื้ออ่อนนุ่มสามารถยืดได้ เมื่อตัดใหม่ๆ จะมีสีขาวอมน้ำเงิน แต่เมื่อถูกกับอากาศสีจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีพิษ ใช้ทำวัสดุก่อสร้าง แบตเตอรี่ กระสุนปืน โลหะผสม

19.ฟลักซ์(Flux)
...จำนวนเส้นแรงแม่เหล็กที่ผ่านทะลุพื้นที่ผิวสมมติแผ่นหนึ่งในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กใช้สัญลักษณ์ f ในบริเวณที่มีผลักซ์แม่เหล็กหนาแน่นมาก เป็นบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กที่มีค่ามาก

20. หัวแร้ง (Soldering Iron)
...ที่ใช้งานทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นหัวแร้งไฟฟ้า ทำหน้าที่ให้ความร้อนออกมาโดยใช้ไฟฟ้าจ่ายผ่านส่วนที่ทำให้กำเนิดความร้อน ส่งผ่านผ่านความร้อนไปยังหัวบัดกรี ส่วนหัวบัดกรีนี้เองเป็นตัวส่งผ่านความร้อนไปยังชิ้นงาน จนชิ้นงานเกิดความร้อนพอที่จะหลอมละลายตะกั่วบัดกรีได้ การบัดกรีที่ถูกต้องนอกจากหัวแร้งต้องร้อนพอที่จะหลอมละลายตะกั่วบัดกรีได้แล้ว ชิ้นงานที่จะบัดกรีก็ต้องร้อนพอที่จะหลอมละลายตะกั่วบัดกรีได้ด้วย ถ้าชิ้นงานขนาดเล็กสามารถใช้หัวแร้งมีกำลังไฟฟ้าต่ำได้ ถ้าชิ้นงานขนาดใหญ่หังแร้งต้องมีกำลังไฟฟ้าสูงขึ้นตามไปด้วย มิเช่นนั้นอาจทำให้การบัดกรีไม่สมบูรณ์ได้

21.หัวแร้งปืน (Soldering Gun)
...มีรูปร่างคล้ายปืน เป็นหัวแร้งที่เหมาะสมกับการบัดกรีงานขนาดใหญ่ ให้ความร้อนสูง การบัดกรีทำได้รวดเร็ว ไม่เหมาะสมกับการบัดกรีงานขนาดเล็ก การบัดกรีต้องระมัดระวังเรื่องความร้อนจะแผ่นไปถึงอุปกรณ์หรือชิ้นงาน เพราะอาจทำให้อุปกรณ์หรือชิ้นงานชำรุดเสียหายได้ การใช้งานทุกครั้งต้องกดไกสสวิตช์ค้างไว้ก่อนการใช้งานประมาณ 5 วินาที เพื่อให้ปลายหัวแร้งร้อนมากพอก่อนทำการบัดกรี ปลายหัวแร้งทำด้วยทองแดง และทองแดงเคลือบเหล็ก เช่นเดียวกับหัวแร้งแช่ แต่มีรูปร่างแตกต่างกัน

22.เครื่องดูดตะกั่ว(Solder Sucker)
...


คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่13)
1.สารกึ่งตัวนำชนิดP(P-Type Semiconductor)
...เป็นสารกึ่งตัวนำที่เกิดจากการจับตัวของอะตอมซิลิกอนกับอะตอมของอะลูมิเนียม ทำให้เกิดที่ว่างซึ่งเรียกว่า โฮล (Hole) ขึ้นในแขนร่วมของอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนข้างโฮลจะเคลื่อนที่ไปอยู่ในโฮลทำให้ดูคล้ายกับโฮลเคลื่อนที่ได้จึงทำให้กระแสไหลได้

2.สารกึ่งตัวนำชนิดN(N-Type Semiconductor)
...เป็นสารกึ่งตัวนำที่เกิดจากการจับตัวของอะตอมซิลิกอนกับอะตอมของสารหนู ทำให้มีอิเล็กตรอนเกินขึ้นมา 1 ตัว เรียกว่าอิเล็กตรอนอิสระซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในก้อนผลึกนั้นจึงยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลได้เช่นเดียวกับตัวนำทั่วไป

3.ไดโอด(Diode)
...เป็นการนำสารกึ่งตัวนำชนิดพีและสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น มาทำการต่อให้ติดกันตามหลักของวิชาฟิสิกส์ของแข็ง โดยไดโอดจะมีความต้านทานต่ำมาก และยอมให้กระแสไหลผ่านได้ เมื่อต่อให้ศักย์ไฟฟ้าที่ปลายพีสูงกว่าศักย์ไฟฟ้าที่ปลายเอ็น (ต่อปลายพีเข้ากับขั้วบวกและต่อปลายเอ็นเข้ากับขั้วลบ) หรือที่เรียกว่า ไบแอสตรง นั่นเอง แต่ถ้าเราต่อให้ที่ปลายพีมีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่าปลายเอ็น (ไบแอสกลับ) ไดโอดจะมีความต้านทานสูงมาก และไม่ยอมให้กระแสไหลผ่าน

4.ดีพลีชันริจิน(Depletion Region)
...การต่อชนสารกึ่งตัวนำทั้ง 3 ตอน ของทรานซิสเตอร์ ทำให้ระหว่างรอยต่อ PN แต่ละตอนเกิดค่าแบตเตอรี่สมมติหรือดีพลีชันริจิน ค่าดังกล่าวก็คือค่าความต้านทานตรงรอยต่อ ดีพลีชันริจินสามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ ตามการจ่ายแรงดันไบอัสให้รอยต่อส่วนที่ถูกจ่ายไบอัสตรงค่าดีพลีชันริจินจะลดลง และรอยต่อส่วนที่ถูกจ่ายไบอัสกลับค่าดีพลีชันริจินจะเพิ่มขึ้น

5.แอโนด(Anode)
...ถ้าขั้วนั้นเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น(จ่ายอิเล็คตรอน เช่น Zn -----> Zn2+ + 2e-)

6.แคโทด(Cathode)
...ถ้าเกิดปฏิกิริยารีดักชั่น(รับอิเล็คตรอน เช่น Cu2+ + 2e- -----> Cu)

7.ไบอัสตรง(Forward Bias)
...ให้ขา E เทียบกับขา B คือแงดันไบอัสที่ขาทั้งสองได้รับต้องไบอัสตรงทั้งคู่

8.ไบอัสกลับ(Reverse Bias)
...ให้ขา C อาจเทียบกับขา B หรือเทียบกับขา E ก็ได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการจัดวงจรขาร่วม ( Common Circuit ) ที่จัดวงจรให้ทรานซิสเตอร์ทำงาน

9.ซีนเนอร์ไดโอด(Zener Diode)
...เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่นำกระแสได้เมื่อได้รับไบอัสกลับ และระดับแรงดันไบอัสกลับที่นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานได้เรียกว่า ระดับแรงดันพังทลายซีเนอร์ (Zener Breakdown Voltage ; Vz) ซีเนอร์ไดโอดจะมีแรงดันไบอัสกลับ (Vr)น้อยกว่า Vz เล็กน้อย ไดโอดประเภทนี้เหมาะที่จะนำไปใช้ควบคุมแรงดันที่โหลดหรือวงจรที่ต้องการแรงดันคงที่ เช่น ประกอบอยู่ในแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง หรือโวลเทจเรกูเลเตอร์

10.ซีนเนอร์เบรกดาวน์(Zener Breakdown)
...ระดับแรงดันไบอัสกลับที่นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งาน

11.แรงดันซีเนอร์ เบรกดาวน์(Zener Breakdown Voltage)
...ระดับแรงดันไบอัสกลับที่นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานได้

12.ไดโอดเปล่งแสง(Light Emitting Diode)
...LED เป็นไดโอดที่ใช้สารประเภทแกลเลี่ยมอาร์เซ็นไนต์ฟอสไฟต์ (Gallium Arsenide Phosphide ; GaAsP) หรือสารแกลเลี่ยมฟอสไฟต์ (Gallium Phosphide ; GaP) มาทำเป็นสารกึ่งตัวนำชนิด p และ n แทนสาร Si และ Ge สารเหล่านี้มีคุณลักษณะพิเศษ คือ สามารถเรืองแสงได้เมื่อได้รับไบอัสตรง การเกิดแสงที่ตัว LED นี้เราเรียกว่า อิเล็กโทรลูมินิเซนต์ (Electroluminescence) ปัจจุบันนิยมใช้ LED แสดงผลในเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคิดเลข,นาฬิกา เป็นต้น

13.แสงอินฟาเรด(Infrared Light)
...

14.แสงที่ตาคนมองเห็น(Visible Light)
... เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในช่วงซึ่งประสาทตาของมนุษย์สามารถสัมผัสได้ ซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 400 – 700 นาโนเมตร (1 เมตร = 1,000,000,000 นาโนเมตร) หากนำแท่งแก้วปริซึม (Prism) มาหักเหแสงอาทิตย์ เราจะเห็นว่าแสงสีขาวถูกหักเหออกเป็นสีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง คล้ายกับสีของรุ้งกินน้ำ เรียกว่า “สเปคตรัม” (Spectrum) แสงแต่ละสีมีความยาวคลื่นแตกต่างกัน สีม่วงมีความยาวคลื่นน้อยที่สุด สีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุด

15.แสงที่ตาคนมองไม่เห็น(Invisible Light)
...เพราะเป็นแสงที่อยู่ในย่านแสงอินฟาเรด ซึ่งขณะเปล่งแสงออกมาตาคนจะมองไม่เห็น ไดโอดเปล่งแวงชนิดนี้เรียกว่า อินฟาเรดอิมิตติ้งไดโอด

16.ทรานซิสเตอร์(Transistor)
...คือ สิ่งประดิษฐ์ทำจากสารกึ่งตัวนำมีสามขา (TRREE LEADS) กระแสหรือแรงเคลื่อน เพียงเล็กน้อยที่ขาหนึ่งจะควบคุมกระแสที่มีปริมาณมากที่ไหลผ่านขาทั้งสอง ข้างได้ หมายความว่าทรานซิสเตอร์เป็นทั้งเครื่องขยาย (AMPLIFIER) และสวิทซ์ทรานซิสเตอร์

17.ฟิลเอฟเฟคทรานซิสเตอร์(Field Effect Transistor)
...เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนําชนิดขั้วเดียว ( Unipolar ) มีลักษณะโครงสร้างและหลักการทํางานแตกต่างไปจากทรานซิสเตอร์เพราะทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนําชนิดสองขั้ว การทํางานของทรานซิสเตอร์ต้องอาศัยกระแสช่วยควบคุมการทํางาน ทั้งกระแสอิเล็กตรอนและกระแสโฮลเฟตเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนําอีกชนิดที่นิยมนํามาใช้งานในการขยายสัญญาณ และใช้งานในหน้าที่ต่าง ๆเช่นเดียวกับ ทรานซิสเตอร์นับวันเฟตยิ่งมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในการนําไปใช้งาน

18.ขั้วเดียว(Unipolar)
...

19.สองขั้ว(Bipolar)
...

20.จังชันเฟต(Junction FET)
...หรือเรียกง่ายๆว่า เจเฟต แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดพีแชนแนล และชนิดเอ็นแชนแนล

21.ดีพลีชันมอสเฟต(Depletion MOSFET)
...หรือ D-MOSFET แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดPแชนแนล และชนิด Nแชลแนล

22.เอนฮานซ์เมนต์มอสเฟต(Enhancement MOSFET)
...หรือ E-MOSFET แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดPแชนแนล และชนิด Nแชลแนล

23.ซิลิคอนไดออกไซต์(Silicon Dioxide)
...

24.คุณสมบัติ(Characteristics)
...

25.แชนแนล(Channel)
...


คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่12)
1.สวิตช์(Switch)
...เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่พบการใช้งานได้บ่อย หน้าที่ของสวิตช์ คือ ใช้ตัดต่อวงจรไฟฟ้าเพื่อให้มีการจ่ายแรงดันเข้าวงจร หรืองดจ่ายแรงดันเข้าวงจร จะมีแรงดันจ่ายเข้าวงจรเมื่อสวิตช์ต่อวงจร (Close Circuit) และไม่มีแรงดันจ่ายเข้าวงจรเมื่อสวิตช์ตัดวงจร (Open Circuit)

2.ต่อวงจร(Close Circuit)
...กระแสไฟฟ้าไหลออกจากแหล่งกำเนิด ผ่านไปตามสายไฟ แล้วผ่านสวิทช์ไฟซี่งแตะกันอยู่ (ภาษาพูดว่าเปิดไฟ) แล้วกระแสไฟฟ้าไหลต่อไปผ่านดวงไฟ แล้วไหลกลับมาที่แหล่งกำเนิดอีกจะเห็นได้ว่ากระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้ครบวงจร หลอดไฟจึงติด

3.ตัดวงจร(Open Circuit)
...วงจรเปิด ไฟจะไม่ติดเพราะว่า ไฟออกจากแหล่งกำเนิดก็จะไหลไปตาม สายพอไปถึงสวิทช์ซึ่งเปิดห่างออกจากกัน (ภาษาพูดว่าปิดสวิทช์) ไฟฟ้าก็จะผ่านไปไม่ได้ กระแสไฟฟ้าไม่สามารถจะไหลผ่านให้ครบวงจรได้

4.1ขั้ว1ทาง(SPST->Single-Pole Single-Throw)
...ทำหน้าที่ปิด-เปิดวงจร

5.1ขั้ว2ทาง(SPDT->Single-Pole Double-Throw)
...ทำหน้าที่เปิ-ปิดวงจร ได้ 2 ชุดพร้อมกัน

6.2ขั้ว1ทาง(DPST->Double-Pole Single-Throw)
...ทำหน้าที่เปิด-ปิดวงจร การใช้ขา 2 ขาหรือจะใช้เป็นสวิตช์เลือก 2 ทาง

7.2ขั้ว2ทาง(DPDT->Double-Pole Double-Throw)
...ทำหน้าที่เปิ-ปิดวงจร ได้ 2 ชุดพร้อมกันโดยใช้ขา 4 ขาและสามารถใช้แทนสวิตช์แบบทางเดียว 2 ขั้วได้

8.สวิตช์ก้านยาว(Toggle Switch)
...เป็นสวิตช์ที่เวลาใช้งานต้องโยกก้านสวิตช์ไปมาโดยมีก้านสวิตช์โยกยื่นยาวออกมาจากตัวสวิตช์ การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยโยกก้านสวิตช์ให้ขึ้นบนหรือลงล่าง ในการโยกก้านสวิตช์ขึ้นมักจะเป็นการต่อ (ON) และโยกก้านสวิตช์ลงมักจะเป็นการตัด (OFF)

9.สวิตช์กระดก(Rocker Switch)
...เป็นสวิตช์ที่มีปุ่มกระดกยื่นออกมาจากตัวสวิตช์เล็กน้อย การควบคุมตัดต่อสวิตช์เล็กน้อย การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยกดผลักขึ้นบนหรือล่าง กดผลักด้านบนจะเป็นการต่อ (ON) กดผลักด้านล้างจะเป็นการตัด (OFF)

10.สวิตช์กด(Push Button Switch)
...เป็นสวิตช์ที่เวลาใช้งานต้องกดปุ่มสวิตช์ลงไป การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ต้องกดปุ่มที่อยู่ส่วนกลางสวิตช์ กดปุ่มสวิตช์หนึ่งครั้งสวิตช์ต่อ (ON) และเมื่อกดปุ่มสวิตช์อีกหนึ่งครั้งสวิตช์ตัด (OFF) การทำงานเป็นเช่นนี้ตลอดเวลา แต่สวิตช์แบบกดบางแบบอาจเป็นชนิดกดติดปล่อยดับ (Momentary) คือขณะกดปุ่มสวิตช์เป็นการต่อ (ON) เมื่อปล่อยมือออกจากปุ่มสวิตช์เป็นการตัด (OFF) ทันที

11.สวิตช์เลื่อน(Slide Switch)
...เป็นสวิตช์ที่ต้องเลื่อนก้านสวิตช์ไปมา ก้านสวิตช์ยื่นยาวออกมาจากตัวสวิตช์เล็กน้อย การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยผลักเลื่อนสวิตช์ขึ้นบนหรือลงล่าง การเลื่อนสวิตช์ขึ้นบนเป็นการต่อ (ON) การเลื่อนสวิตช์ลงล่างเป็นการตัด (OFF)

12.สวิตช์หมุน(Rotary Switch)
...หรือเรียกว่าสวิตช์แบบเลือกค่า (Selector Switch) เป็นสวิตช์ที่ต้องหมุนก้านสวิตช์ไปโดยรอบเป็นวงกลม สามารถเลือกตำแหน่งการตัดต่อได้หลายตำแหน่ง มีหน้าสัมผัสสวิตช์ให้เลือกต่อมากหลายตำแหน่ง เช่น 2, 3, 4 หรือ 5 ตำแหน่ง เป็นต้น

13.สวิตช์ดิพ(DIP Switch)
...คำว่าดิพ (DIP) มาจากคำเต็มว่าดูอัลอินไลน์แพกเกจ (Dual Inline Package) เป็นสวิตช์ขนาดเล็กใช้งานร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นในรูปชิพ (Chip) ที่มีขนาดเล็กๆ หรือใช้งานกับไอซี (IC = Integrated Circuit) ลักษณะสวิตช์สามารถตัดหรือต่อวงจรได้ การควบคุมตัดต่อสวิตช์แบบดิพจะต้องใช้ปลายมปากกาหรือปลายดินสอในการปรับเลื่อนสวิตช์ สวิตช์แบบดิพมักถูกติดตั้งบนแผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Cricuit Board) ใช้กับกระแสไม่เกิน 30mA ที่แรงดัน 30VDC

14.สวิตช์เลือกค่า(Selector Switch)
...มีใช้มากในงานที่ต้องควบคุมการทำงานด้วยมือ แสดงตัวอย่างของสวิตช์เลือกแบบ 3 ตำแหน่ง และตารางแสดงการทำงานของสวิตช์เลือกเครื่องหมาย X ในตารางแทนด้วยหน้าสัมผัสปิด สวิตช์เลือกมี 3 ตำแหน่งคือ ตำแหน่งหยุด (off) ตำแหน่งมือ (hand ) และ ตำแหน่งออโต (automatic)ในตำแหน่งหยุดหน้าสัมผัสทุกอันจะปิดหมด (ลูกศรชี้) ส่วนในตำแหน่งมือหน้าสัมผัส A1 จะปิด หน้าสัมผัส A2 จะเปิด และในตำแหน่งออโตหน้าสัมผัส A2 จะปิดหน้าสัมผัส A1 จะเปิด

15.ไมโครสวิตช์(Microswitch)
...คือสวิตช์แบบกดชนิดกดติดปล่อยดับนั่นเอง แต่เป็นสวิตช์ที่สามารถใช้แรงจำนวนน้อยๆ กดปุ่มสวิตช์ได ก้านสวิตช์แบบไมโครสวิตช์มีด้วยกันหลายแบบ อาจเป็นปุ่มกดเฉยๆ หรืออาจมีก้านแบบโยกได้มากดปุ่มสวิตช์อีกทีหนึ่ง การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยกดปุ่มสวิตช์หรือกดก้านคันโยกเป็นการต่อ (ON) และเมื่อปล่อยมือออกจากปุ่มหรือก้านคันโยกเป็นการตัด (OFF)

16.รีเลย์(Relay)
... รีเลย์เป็นสวิตช์แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Swich) ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อหรือเปิดวงจรการทำงานจะดึงหน้าสัมผัสเข้าหาหรือให้หนีออกจากอีกข้างหนึ่ง ดังแสดงในรูปแสดงสัญลักษณ์และรูปลักษณะของรีเลย์ โดยในรูป (ก) แสดงรีเลย์แบบปกติเปิด (Normally Open Relay, NO) ส่วนรูป (ข) เป็นรีเลย์แบบปกติปิด (Normally Closed Relay, NC)

17.กลไก(Mechanical)
...

18.สวิตช์หน้าสัมผัส(Contact Switch)
...เพราะใช้ IC Timer 555(ไอซีนิยมใช้กันมาก) โดยมันเป็นวงจรง่ายๆ เมื่อpin 2 ของ IC 555 ต่อกับแผ่นโลหะ แล้วท่านแตะโดนแผ่นโลหะนั้น ก็จะทำให้ LED สว่างนานประมาณ 1 วินาที โดยวงจรนี้ จะใช้งานได้ดีในบ้าน ซึ่งไม่ถูกรบกวนจากสัญญาณวิทยุอื่นๆ ก็นับว่าเป็นวงจรที่น่าสนุกดี หรือ ท่านจะประยุกต์ใช้เป็นวงจรกันขโมยก็ได้

19.ปกติเปิด (NO->Normal Open)
...คือสวิทช์ขาปกติวงจรเปิด (ปกติกระแสไฟไม่เดิน)

20.ปกติปิด(NC->Normal Close)
...คือสวิทช์ขาปกติวงจรปิด (ปกติกระแสไฟเดิน)

21.ไมโครโฟน(Microphone)
...ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ที่สร้างจากขดลวดเคลื่อนที่ โดยการทำงานจะอาศัยการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Induction) เพื่อที่จะเปลี่ยนคลื่นเสียงไปเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า จากที่ทราบว่าเสียงที่เราได้ยินนั้นเกิดจากการเคลื่อนที่ของคลื่นความดันผ่านอากาศ ซึ่งการที่จะให้เกิดคลื่นความดันในลักษณะเช่นนี้ สามารถทำได้โดยใช้เส้นเชือกที่ขึงให้ตึง ผิวเนื้อเยื่อแผ่นบางๆ หรืออาจเป็นกล่องเสียงในลำคอของมนุษย์ และทำให้สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้เกิดการสั่นซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอัดหรือขยายของโมเลกุลอากาศ ดังแสดงในรูป เป็นตัวอย่างของการทำให้เส้นเชือกที่ถูกขึงให้ตึงเกิดการสั่นกลับไปกลับมา ผลของการสั่นจะทำให้เกิดย่านความดันอากาศสูงสุด

22.เฮิร์ต(Hertz)
...หน่วยของความถี่

23.ไดนามิกไมโครโฟน(Dynamic Microphone)
...เป็นไมโครโฟนที่ใช้กันทั่วไปในงานระบบเสียงปัจจุบันนี้ มีลักษณะการทำงานกลับกับการทำงานของลำโพง เมื่อมีเสียงมากระทบที่ไดอะแฟรม (Diaphragm) ทำให้เกิดการสั่นและเคลื่อนไหวเข้าออกของมูฟวิ่งคอยล์ที่พันอยู่รอบๆ กรวยไดอะแฟรมจึงเกิดการตัดกันของสนามแม่เหล็ก และเกิดการเหนี่ยวนำกลายเป็นกระแสไฟฟ้าขนาดเล็กส่งออกมาตามขดลวด ขนาดความแรงของสัญญาณไฟฟ้าและทิศทางขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวของขดลวดไดนามิกไมโครโฟนมีความแข็งแรงทนทานสูง ราคาไม่แพงและเป็นที่นิยมใช้ทั่วไป ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้มีการใช้ไดนามิกไมโครโฟนกันมากในระบบเสียงงานเวที หรือในงานระบบเสียงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพลังงานอคูสติกสูงและบ่อยครั้ง ไดนามิกไมโครโฟนยังมีความคงทนต่อองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นอุณหภูมิ และสภาพแสงแดดได้อย่างดี

24.คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน(Condencer Microphone)
...คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน ต้องมีไฟเลี้ยงจ่ายให้อยู่ตลอดเวลาที่มีการใช้งานซึ่งอยู่ระหว่าง 9-48 โวลท์ที่มาจากแบตเตอรี่ที่บรรจุเข้าไปในตัวไมโครโฟน หรือจาก มิกเซอร์โดยผ่านทางสายไมโครโฟน หลัการทำงานคือเมื่อมีการเคลื่อนไหวเข้าใกล้และห่างออกจากกันระหว่างไดอะแฟรมกับแบคเพรท (Back plate) โดยแบคเพรทจะอยู่กับที่และส่วนที่เป็นไดอะแฟรมจะเคลื่อนไหวตามเสียงที่เข้ามา จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณสมบัติทางประจุไฟฟ้าและทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นซึ่งมีขนาดเล็กมาก ซึ่งจะถูกนำไปขยายโดยภาคขยายเล็กๆ ซึ่งซ่อนอยู่เพื่อขยายสัญญาณและเพื่อแยกค่าอิมพีเด้นของไมโครโฟนออกจากค่าอิมพีเด้นที่ต่ำที่ตัวไมโครโฟนต่ออยู่คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟนมีคุณสมบัติทางเสียงที่ดีเหมือนธรรมชาติ ใช้กับงานที่ต้องการการตอบสนองทาง Transient เช่น เครื่องดนตรีที่เป็นพวก Percussion และนิยมใช้กันมากในห้องบันทึกเสียง และงานทั่วไป ความทนทานจะสู้ไดนามิกไมโครโฟนไม่ได้ ไวต่อการเสียหายเมือมีการกระแทกของเสียง การกระทบกระเทือนอย่างแรง และสภาพแวดล้อม เช่นความชื้น ราคาจะสูงกว่าไดนามิกไมโครโฟน

25.ลำโพง(Loundspeaker)
...ลำโพงเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณแรงดันไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียง เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี ให้เราได้ยินผ่านทางวิทยุ หรือโทรทัศน์ เป็นต้น ลำโพงโดยทั่วไปจะเป็นแบบแม่เหล็กถาวร นั่นคือ การทำงานจะอาศัยหลักการของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ลำโพงที่พบกันโดยทั่วไปจะถูกสร้างจากแม่เหล็กถาวรทำงานร่วมกับแม่เหล็กไฟฟ้า ดังแสดงในรูป (ก) โดยที่บริเวณฐานของตัวลำโพงจะประกอบไปด้วยไดอะแฟรมซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแผ่นกระดาษบางๆ ยึดติดอยู่กับกระบอกลวงและมีขดลวดพันอยู่รอบๆ ซึ่งจะใช้เป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าให้เกิดขึ้น ซึ่งการจัดลักษณะแบบนี้เป็นการให้ขั้วแม่เหล็กถาวรขั้วหนึ่งปรากฏอยู่ภายในกระบอกกลวงที่มีขดลวดพันอยู่รอบๆ นี้ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดในทิศทางหนึ่ง จะทำให้เกิดแรงปฏิกิริยาต่อกันระหว่างสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กถาวร กับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด ส่งผลให้ตัวกระบอกเคลื่อนที่ไปทางด้านขวา ดังแสดงในรูป (ข) แต่ถ้าในกรณีที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดในทิศทางตรงกันข้ามกับตอนแรกก็จะมีผลให้ตัวกระบอกเคลื่อนที่ไปทางด้านซ้าย ดังแสดงในรูป (ค) การเคลื่อนที่ของกระบอกกลวงที่ถูกพันด้วยขดลวดนี้จะทำให้ไดอะแฟรมซึ่งสามารถยืดหดได้เกิดการเคลื่อนที่เข้าออก โดยทิศทางของการเคลื่อนที่จะขึ้นอยู่กับทิศทางของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าไปในขดลวด สำหรับปริมาณของกระแสไฟฟ้านั้นจะเป็นตัวกำหนดความเข้ม ของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น ซึ่งก็หมายถึงการควบคุมการเคลื่อนที่ของไดอะแฟรมนั่นเอง

26.ลำโพงฮอร์น(Horn Speaker)
...เป็นลำโพงที่มีขนาดใหญ่ใช้ในการกระจายเสียงทั่วไป มีโครงสร้างเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหน้าเรียกว่า ฮอร์น(Horn) มีลักษณะเป็นกรวยโลหะปากกว้าง หรือเรียกกันทั่วๆไปว่า ดอกลำโพง ส่วนหลังเรียกว่า ไดรเวอร์ยูนิต(Driver Unit) เป็นส่วนที่ประกอบด้วยแม่เหล็กถาวร และขดลวดเสียง ซึ่งพันอยู่บนแผ่นไดอะเฟรม มีขนาดอิมพิแดนซ์ 8 โอห์ม และ 16 โอห์ม ลำโพงฮอร์นให้เสียงในระดับปานกลางแต่สามารถไปได้ไกล จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งนอกสถานที่

คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่9-11)

คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่11)

1.ตัวเหนี่ยวนำ(Inductor)...ตัวเหนี่ยวนำเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยมีการใช้งานกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป มีตั้งแต่ขนาดเล็กมาก ๆ ประมาณปลายนิ้วมือจนกระทั่งถึงขนาดใหญ่เท่าห้องปฏิบัติการ ลักษณะของตัวเหนี่ยวนำจะเป็นการนำเอาลวดตัวนำมาพันเรียงกันเป็นขดลวด อาจมีจำนวนรอบไม่กี่รอบจนกระทั่งถึงพันรอบแล้วแต่ค่าความเหนี่ยวนำที่ต้องการใช้งาน การพันขดลวดของตัวเหนี่ยวนำอาจพันบนแกนชนิดต่าง ๆ หรือเป็นแบบไม่มีแกน (แกนอากาศ) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

2.ความเหนี่ยวนำ(Inductance)...การพันจำนวนรอบของตัวเหนี่ยวนำมีผลต่อความเหนี่ยวนำ (Inductance) ในตัวเหนี่ยวนำนั้น พันจำนวนรอบน้อยความเหนี่ยวนำน้อย พันจำนวนรอบมากความเหนี่ยวนำมาก จำนวนรอบยังมีผลต่อปริมาณสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นด้วย จำนวนรอบน้อย สนามแม่เหล็กเกิดน้อย จำนวนรอบมาก สนามแม่เหล็กเกิดมาก

3.ขดลวด(Coil)...วัสดุที่ใช้ทำขดลวดหม้อแปลงโดยทั่วไปทำมาจากสายทองแดงเคลือบน้ำยาฉนวน มีขนาดและลักษณะลวดเป็นทรงกลม หรือแบนขึ้นอยู่กับขนาดของหม้อแปลง ลวดเส้นโตจะมีความสามารถในการจ่ายกระแสได้มากกว่าลวดเส้นเล็กหม้อแปลงขนาดใหญ่มักใช้ลวดถักแบบตีเกลียว เพื่อเพิ่มพื้นที่สายตัวนำให้มีทางเดินของกระแสไฟมากขึ้น สายตัวนำที่ใช้ พันขดลวดบนแกนเหล็กทั้งขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติยภูมิอาจมีแทปแยก (Tap) เพื่อแบ่งขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้า (ในหม้อแปลงขนาดใหญ่จะใช้การเปลี่ยนแทปด้วยสวิตช์อัตโนมัติ)

4.เส้นแรงแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Flux)...ด้วยนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว เส้นแรงแม่เหล็กไม่ได้เป็นปริมาณเวกเตอร์ แต่เป็นเวกเตอร์เสมือน เท่านั้น แม้ว่าภาพต่างๆ มักจะแสดงเส้นแรงแม่เหล็กด้วยลูกศร แต่เราไม่สามารถแปลความหมายลูกศรนั้นเป็นการเคลื่อนที่หรือการไหลของเส้นสนาม

5.สนามแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Field)...จะหมายถึงเส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและความเข้มของเส้นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่มีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า) และที่เกิดขึ้นโดยรอบวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) ในกรณีกล่าวถึงทั้ง สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กพร้อมกันมักจะเรียกรวมว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF)หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

6.เฟอร์โรแมกเนติก(Ferromagnetic)...

7.โช้ค(Choke)...ช่วยในเรื่องการทรงตัวเป็นหลักครับ ช่วยในเรื่องความแข็งแรง(ประโยชน์มากเวลาจั๊ม) เปลี่ยนไซร์ยางเป็นขนาดดังกล่าวผลคือ มีความสะเทือนเพิ่มขึ้นครับ เข็มวัดความเร็วอ่อน

8.แกนอากาศ(Air Core)...นอกจากนี้ยังใช้ขดลวดแกนอากาศกับงานในระบบที่ใช้ความถี่สูงโดยไม่ต้องการให้เส้นแรง แม่เหล็กมีการอิ่มตัวหรือการ สูญเสียเกิดขึ้นที่แกนเหล็ก

9.แกนเฟอร์ไรด์(Ferrite Core)...แกนเฟอร์ไรท์เป็นวัสดุที่มีส่วนผสมของแม่เหล็กทำให้มีความเข้ม สนามแม่เหล็กมากกว่าเหล็กและมีความต้านทานสูง จึงช่วยลดการสูญเสียบนแกนเหล็ก หรือลดความร้อนจากการเกิดกระแสไหลวนที่ความถี่สูง

10.แกนผงเหล็กอัด(Powdered -Iron Core)...ตัวเหนี่ยวนำแกนผงเหล็กอัด เป็นตัวเหนี่ยวนำที่แกนหรือฐานรองรับเส้นลวดทำด้วยผงเหล็กชนิดอัดแน่น โดยนำผงเหล็กผสมกับกาวอัดแน่นเป็นแท่ง ช่วยลดการสูญเสียสัญญาณจากกระแสไหลวน (Eddy Current) ลงได้ สัญญาณส่งผ่านตัวเหนี่ยวนำแกนผงเหล็กอัดได้สูงขึ้น เกิดการสูญเสียสัญญาณภายในตัวเหนี่ยวนำลดลง ใช้งานได้ดีในย่านความถี่สูงๆ มีความเหนี่ยวนำสูงแต่มีขนาดเล็ก ลักษณะตัวเหนี่ยวนำแกนผงเหล็กอัด

11.แกนทอรอยด์(Toroidal Core)...แกนทอลอยด์มีลักษณะคล้ายวงแหวนทำมาจากโลหะผสมสารกึ่งตัวนำ-ซิลิกอน หม้อแปลงแกนทอลอยด์มีประสิทธิภาพ สูง (95 %) เพราะแกนทอลอยด์มีสภาพความนำแม่เหล็กสูง อีกทั้งยังไม่มีช่องรอยต่อเหมือนแกนเหล็กแบบ Core และแบบ Shell จึงช่วยลดการเกิดเสียงรบกวนได้ในขณะทำงาน

12.แกนเหล็กแผ่น(Laminated - Iron Core)... แผ่นเหล็กที่ใช้ทำหม้อแปลงจะมีส่วนผสมของสารกึ่งตัวนำ-ซิลิกอนเพื่อรักษาความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้น รอบขดลวดไว้ แผ่นเหล็กแต่ละชั้นเป็นแผ่นเหล็กบางเรียงต่อกัน หลายชิ้นทำให้มีความต้านทานสูงและช่วยลดการสูญเสีย บนแกนเหล็กที่ส่งผลให้เกิดความร้อนหรือที่เรียกว่า กระแสไหลวนบนแกนเหล็กโดยทำแผ่นเหล็กให้เป็นแผ่นบางหลาย แผ่นเรียงซ้อนประกอบขึ้น เป็นแกนเหล็กของหม้อแปลง ซึ่งมีด้วยกันหลายรูปแบบเช่น แผ่นเหล็กแบบ Core และแบบ Shell

13.กระแสไหลวน(Eddy Current)...ส่วนใหญ่กระแสที่เราเหนี่ยวนำขึ้นมา มักจะอธิบายกันที่ขดลวดตัวนำวงกลม แต่ที่จริงแล้วกระแสเหนี่ยวนำสามารถสร้างขึ้นในแผ่นตัวนำได้เลย โดยใช้หลักของฟาราเดย์ที่ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนฟลักซ์ของสนามแม่เหล็ก ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น และมักจะเกิดกับโลหะหรือตัวนำไฟฟ้าได้ดี เหตุผลก็เป็นเพราะความต้านทานของตัวนำค่อนข้างต่ำ ดังนั้นสามารถสร้างกระแสเหนี่ยวนำขึ้นได้ง่าย

14.ตัวกรองไฟ(Filter)...มันอยู่อยู่ 3 จำพวก คือเครื่องคุมไฟ สำหรับทำให้กระแสไฟฟ้านิ่ง คงที่ ไม่วูบวาบ เครื่องกรองไฟ สำหรับทำให้กระแสไฟฟ้าสะอาดขึ้น กรองสัญญาณรบกวนออกไป ส่วน ups เข้าใจว่าเป็นเครื่องสำรองไฟ คือเผื่อฉุกเฉินเวลาไฟดับอ่ะคับ ส่วนมากก็ใช้กับคอมพิวเตอร์ จะได้ปิดเครื่องได้ทัน

15.ทางเข้า(Input)...
16.ทางออก(Output)...
17.ปฐมภูมิ(Primary)...รับแรงเคลื่อนไฟฟ้า
18.ทุติยภูมิ(Secondary)...แรงเคลื่อนไฟฟ้า

19.แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ(Induce Electro Motive Force)...ปลายทั้งสองข้างของเส้นลวดตัวนำทำหน้าที่เสมือนเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าเกิดเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า

20.หม้อแปลงไฟฟ้า(Transformer)...เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนระดับแรงดันให้สูงขึ้นหรือต่ำลงตามต้องการ ภายในประกอบด้วยขดลวด 2 ชุดคือ ขดลวดปฐมภูมิ ( Primary winding) และ ขดลวดทุติยภูมิ (Secondary winding) แต่สำหรับหม้อแปลงกำลัง ( Power Transformer) ขนาดใหญ่บางตัวอาจมีขดลวดที่สามเพิ่มขึ้นคือขด Tertiary winding ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขด Primary และ Secondary และแรงดันที่แปลงออกมาจะมีค่าต่ำกว่าขด Secondary

21.หม้อแปลงเพิ่มแรงดัน(Step Up Tranformer)... หม้อแปลงเพิ่มแรงดัน เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เพิ่มแรงดันไฟสลับที่ด้านส่งออกเอาต์พุต หรือขดทุติยภูมิมีค่าแรงดันมากกว่าค่าแรงดันที่ป้อนเข้ามา รูปแบบการพันขดลวดในหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้ จำนวนรอบของขดลวดทางขดปฐมภูมิน้อยกว่าจำนวนรอบของขดลวดทางขดทุติยภูมิ ลักษณะหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดเพิ่มแรงดัน

22.หม้อแปลงลดแรงดัน(Step Down Tranformer)...หม้อแปลงลดแรงดัน เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ทำหนัาที่ลดแรงดันไฟสลับที่ส่งออกทางขดลวดทุติยภูมิ มีค่าแรงดันน้อยกว่าค่าแรงดันท่ป้อนเข้ามา รูปแบบการพันขดลวดในหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้ จำนวนรอบของขดลวดทางขดปฐมภูมิมากกว่าจำนวนรอบของขดลวดทางขดทุติภูมิลักษณะหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดลดแรงดัน

23.หม้อแปลงกำลัง(Power Tranformer)...หม้อแปลงกำลัง เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีลักษณะการพันขดลวดแบบหลายขดลวดรวมกันอยู่ในหม้อแปลงทางขดทุติภูมิ มีทั้งขดเพิ่มแรงดันและขดลดแรงดัน ลักษณะหม้อแปลงกำลัง

24.หม้อแปลงออโต้(Auto Tranformer)...หม้อแปลงออโต เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีลักษณะการพันขดลวดทุกขดอยู่บนแกนเดียวกัน มีขดลวดพันออกมาใช้งานเพียวขดเดียว แยกชุดจ่ายแรงดันออกมาตามค่าที่ต้องการเป็นจุดๆ มีจุดต่อร่วมจุดเดียวกัน จุดใดเป็นจุดจ่ายแรงดันเข้าเรียกว่าขดปฐมภูมิ จุดใดเป็นจุดจ่ายแรงดันออกเรียกว่า ขดทุติภูมิ

25.หม้อแปลงทอรอยด์(Toroidal Tranformer)...หม้อแปลงทอรอยต์ เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าแกนเหล็กแผ่นบางเคลือบฉนวนวางซ้อนกันในรูปวงแหวน การพันขดลวดสามารถพันให้เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าลักษณะต่างๆ ได้ เช่น ชนิดลดแรงดัน ชนิดเพิ่มแรงดัน ชนิดกำลัง และชนิดออโต เป็นต้น ข้อดีของหม้อแปลงแบบนี้ คือ มีขนาดเล็กกะทัดรัดที่ให้ค่าความเหนี่ยวนำสูง มีการสูญเสียกำลังต่ำ นิยมใช้งานอย่างแพร่หลาย ลักษณะหม้อแปลงทอรอยต์



คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่9-10)

1.ความต้านทาน(Resistance)...คือ หน่วยวัดปริมาณความต้านทานกระแสไฟฟ้าของวัตถุ วัตถุที่มีความต้านทานต่ำจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย เรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า ในขณะที่ฉนวนไฟฟ้ามีความต้านทานสูงมากและไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านค่าความต้านทานไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ R มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω) มีค่าเป็นส่วนกลับของ ความนำไฟฟ้า (Conductivity) หน่วยซีเมนส์กฎของโอห์มเขียน ความสัมพันธ์ระหว่าง แรงดันไฟฟ้า (V) , กระแสไฟฟ้า (I) และความต้านทาน (R) ไว้ดังนี้: R = V / I จากการวัดกับวัสดุต่างๆ ที่สภาวะต่างๆ กัน มักปรากฏว่าความต้านทาน ไม่ขึ้นกับปริมาณกระแสไฟฟ้า หรือ แรงดันไฟฟ้า กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มีค่าความต้านทานคงที่

2.ตัวนำ(Conducter)...ตัวเหนี่ยวนำเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยมีการใช้งานกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป มีตั้งแต่ขนาดเล็กมาก ๆ ประมาณปลายนิ้วมือจนกระทั่งถึงขนาดใหญ่เท่าห้องปฏิบัติการ ลักษณะของตัวเหนี่ยวนำจะเป็นการนำเอาลวดตัวนำมาพันเรียงกันเป็นขดลวด อาจมีจำนวนรอบไม่กี่รอบจนกระทั่งถึงพันรอบแล้วแต่ค่าความเหนี่ยวนำที่ต้องการใช้งาน การพันขดลวดของตัวเหนี่ยวนำอาจพันบนแกนชนิดต่าง ๆ หรือเป็นแบบไม่มีแกน (แกนอากาศ) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

3.ฉนวน(Insulator)...ฉนวนคือวัสดุที่มีคุณสมบัติในการกีดกั้นหรือขัดขวางการไหลของกระแสไฟฟ้าหรือวัสดุที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้ได้แก่ ยาง ไฟเบอร์ พลาสติก ฯลฯ ฉนวนจะต้องสามารถป้องกันตัวนำไฟฟ้าจากความร้อนหรือของเหลวที่สามารถกัดกร่อนตัวนำไฟฟ้า และสามารถกันน้ำได้ดี ฉนวนที่ใช้หุ้มตัวนำไฟฟ้าต้องมีความต้านทานสูง ต้องไม่ถูกกรดหรือด่างกัดกร่อนได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 0 ถึง 200 องศาฟาเรนไฮต์ และต้องไม่ดูดความชื้นในอากาศ ฉนวนที่ใช้หุ้มตัวนำไฟฟ้ามีอยู่หลายชนิด ได้แก่ แร่ใยหิน ยางทนความร้อนพลาสติก PVC ฉนวนที่นิยมใช้งานได้แก่-ก. ฉนวนยาง ฉนวนยางที่ใช้หุ้มตัวนำไฟฟ้าและสายเคเบิลทำจากยางพารา 20 ถึง 40% ผสมกับแร่ธาตุอีกหลายชนิด เช่น ผงซัลเฟตของแมกนีเซียม สังกะสีออกไซด์ ฯลฯและมีกำมะถันปนอยู่ด้วยเล็กน้อย ใช้ทำสายไฟฟ้าแรงสูง-ข. พลาสติก PVC เป็นฉนวนที่มีคุณสมบัติบิดงอได้ แต่ไม่ดีเท่ากับยาง ไม่มีปฏิกิริยากับออกซิเจนและน้ำมันต่าง ๆ ไม่มีปฏิกิริยากับกรดและด่าง ทนอุณหภูมิได้สูง จึงเป็นที่นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบัน

4.ตัวต้านทาน(Resister)...เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดสองขั้ว ที่สร้างความต่างศักย์ทางไฟฟ้าขึ้นคร่อมขั้วทั้งสอง โดยมีสัดส่วนมากน้อยตามกระแสที่ไหลผ่าน อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ และปริมาณกระแสไฟฟ้า ก็คือ ค่าความต้านทานทางไฟฟ้า หรือค่าความต้านทานหน่วยค่าความต้านทานไฟฟ้าตามระบบเอสไอ คือ โอห์ม อุปกรณ์ที่มีความต้านทาน ค่า 1 โอห์ม หากมีความต่างศักย์ 1 โวลต์ไหลผ่าน จะให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ ซึ่งเท่ากับการไหลของประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ (ประมาณ 6.241506 × 1018 elementary charge) ต่อวินาที

5.โลหะ(Metallic)...โลหะ คือ วัสดุที่ประกอบด้วยธาตุโลหะที่มีอิเล็กตรอนอิสระอยู่มากมาย นั่นคืออิเล็กตรอนเหล่านี้ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้มันมีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น-เป็นตัวนำไฟฟ้าและความร้อนได้ดีมาก-ไม่ยอมให้แสงผ่าน-ผิวของโลหะที่ขัดเรียบจะเป็นมันวาว-โลหะมีความแข็งแรงพอสมควรและสามารถแปรรูปได้จึงถูกใช้งานในด้านโครงสร้างอย่างกว้างขวาง

6.อโลหะ(Non-Metallic)...คือ ธาตุที่มีคุณสมบัติต่างจากโลหะและธาตุกึ่งโลหะ ในด้านการแตกตัวของไอออน (ionization) และการดึงดูดระหว่างอะตอม (bonding properties)อโลหะทุกตัวจะมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ (highly electronegative) โดยการรับอิเล็กตรอน (valence electrons) จากอะตอมของธาตุอื่นอโลหะเป็นอนุกรมเคมีในตารางธาตุ ประกอบด้วย-ธาตุในกลุ่มแฮโลเจน-ธาตุในกลุ่มก๊าซมีตระกูล-ธาตุต่อไปนี้ไฮโดรเจน (hydrogen - H)คาร์บอน (carbon - C)ไนโตรเจน (nitrogen - N)ออกซิเจน (oxygen - O)ฟอสฟอรัส (phosphorus - P)กำมะถัน (sulfur - S)ซีลีเนียม (selenium - Se)*โดยทั่วไป อโลหะมีสมบัติตรงข้ามกับ

7.ตัวต้านทานไวร์วาวด์(Wire-Wound Resister)...เป็นตัวต้านทานที่มีโครงสร้างทำด้วยเส้นโลหะผสม 2 หรือ 3 ชนิด อันได้แก่ นิกเกิล-โครเมียม หรือ ทองแดง-นิกเกิล เพราะว่าเป็นโลหะผสมที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้านทานเพียงเล็กน้อยขณะที่ตัวต้านทานมีความร้อนเกิดขึ้น เมื่อทำการพันเส้นลวดลงบนแท่งเซรามิกรูปทรงกระบอกจะได้ตัวต้านทานแบบเส้นลวด และที่ปลายทั้งสองข้างของเส้นลวด ความต้านทานจะต่อเข้ากับขาโลหะเพื่อการนำไปใช้งาน ส่วนที่ผิวของเส้นลวดความต้านทานจะถูกเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบ ซีเมนต์ ปลอกแก้วหรือซิลิโคนเพื่อเป็นฉนวนไฟฟ้า และป้องกันไม่ให้เส้นลวดขาดง่ายเมื่อถูกขีดข่วนจากสิ่งภายนอกตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์จะมีความต้านทานที่เที่ยงตรงและมีค่าผิดพลาดน้อยที่สุด แต่จะเป็นตัวต้านทานที่มีขนาดใหญ่ และมีอัตราทนกำลังไฟฟ้าได้สูงถึง 1,000 วัตต์ ส่วนมากค่าความต้านทานแบบไวร์วาวด์จะเขียนบอกไว้ที่ตัวของมันเอง การนำไปใช้งานนิยมใช้ในวงจรตัวแบ่งแรงดันไฟฟ้า เช่น วงจรภาคจ่ายไฟฟ้า หรือใช้ในวงจรเครื่องส่งวิทยุที่ใช้กำลังงานสูงและอื่นๆเป็นต้นค่าความต้านทานของตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์นี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นลวดที่ใช้พัน ถ้าใช้เส้นลวดเส้นใหญ่ความต้านทานมีค่าต่ำ ถ้าใช้ลวดเส้นเล็กความต้านทานมีค่าสูงขึ้น และขึ้นอยู่กับความยาวของลวดที่พัน ถ้าลวดมีความยาวน้อย ความต้านทานมีค่าต่ำ ถ้าลวดมีความยาวมากขึ้น ความต้านทานมีค่าสูงขึ้น

8.ตัวต้านทานฟิล์มโลหะ(Metal-Film Resister)...เป็นตัวต้านทานประเภทโลหะอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้งานมากในปัจจุบัน โครงสร้างของตัวต้านทานชนิดนี้ประกอบด้วยแกนทรงกระบอกเล็กๆ ทำจาก เซรามิก เคลือบผิวเซรามิกด้วยโลหะบางๆพวกนิกเกิลหรือโครเมียม โดยเคลือบในสุญญากาศ การเคลือบบนแกนเซรามิกเป็นแบบพันรอบแกนแบบต่อเนื่องจากปลายด้านหนึ่งไปยังปลายอีกด้านหนึ่ง และมีโลหะครอบปลายทั้งสองต่อออกมาเป็นขาตัวต้านทาน ข้อดีของตัวต้านทานชนิดนี้คือ มีค่าความต้านทานผิดพลาดต่ำมากกว่า +_1% จนถึง +_0.001% เพราะใช้แสงเลเซอร์เจาะตัดเอาโลหะส่วนเกินออก และสร้างค่าความต้านทานให้มีค่าสูงมากขึ้นกว่าชนิดตัวต้านทานไวร์วาวด์ได้แต่มีราคาแพงขึ้น

9.กึ่งตัวนำ(Semiconductor)...คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำและฉนวน เป็นวัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ มักมีตัวประกอบของ germanium, selenium, silicon วัสดุเนื้อแข็งผลึกพวกหนึ่งที่มีสมบัติเป็นตัวนำ หรือสื่อไฟฟ้าก้ำกึ่งระหว่างโลหะกับอโลหะหรือฉนวน ความเป็นตัวนำไฟฟ้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และสิ่งไม่บริสุทธิ์ที่มีเจือปนอยู่ในวัสดุพวกนี้ ซึ่งอาจเป็นธาตุหรือสารประกอบก็มี เช่น ธาตุเจอร์เมเนียม ซิลิคอน ซีลีเนียม และตะกั่วเทลลูไรด์ เป็นต้น วัสดุกึ่งตัวนำพวกนี้มีความต้านทานไฟฟ้าลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะตรงข้ามกับโลหะทั้งปวงที่อุณหภูมิ ศูนย์ เคลวิน วัสดุพวกนี้จะไม่ยอมให้ไฟฟ้าไหลผ่านเลย เพราะเนื้อวัสดุเป็นผลึกโควาเลนต์ ซึ่งอิเล็กตรอนทั้งหลายจะถูกตรึงอยู่ในพันธะโควาเลนต์หมด (พันธะที่หยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม) แต่ในอุณหภูมิธรรมดา อิเล็กตรอนบางส่วนมีพลังงาน เนื่องจากความร้อนมากพอที่จะหลุดไปจากพันธะ ทำให้เกิดที่ว่างขึ้น อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาเป็นสาเหตุให้สารกึ่งตัวนำ นำไฟฟ้าได้เมื่อมีมีสนามไฟฟ้ามาต่อเข้ากับสารนี้

10.ตัวต้านทานคาร์บอน(Carbon Resister)...เป็นตัวต้านทานที่ทำมาจากผงคาร์บอนหรือผงแกรไฟต์ ผสมกับตัวประสานฟีนอลลิกอัดแน่นเป็นแท่งทรงกระบอก และที่ปลายทั้งสองข้างของแท่งคาร์บอนจะถูกยึดติดกับโลหะและต่อเส้นลวดออกมาเพื่อใช้เป็นขาต่อ ส่วนตัวแท่งคาร์บอนจะถูกเคลือบด้วยฉนวนไฟฟ้า ซึ่งค่าของความต้านทานจะขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ของผงคาร์บอนในการผสมใช้งาน ความหนาแน่นเปลี่ยนแปลงความต้านทานก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ค่าความต้านทานที่ผลิตได้ตั้งแต่ค่าต่ำๆ เป็นเศษส่วนของโอห์มจนถึงเป็นล้านๆโอห์มขึ้นไป ( โอห์มเป็นหน่วยใช้บอกค่าความต้านทานของตัวต้านทาน ) ค่าทนกำลังไฟฟ้าของตัวต้านทานชนิดนี้มีค่าตั้งแต่ 1/8 วัตต์ ถึง 2 วัตต์โดยประมาณข้อเสียของตัวต้านทานชนิดนี้ คือ มีค่าความผิดพลาดสูง อุณหภูมิมีผลต่อความต้านทานนี้มาก และไม่สามารถนำตัวต้านทานชนิดนี้ไปใช้กับงานผ่านความถี่สูงๆได้ เพราะจะเกิดสัญญาณรบกวนต่อวงจร

11.ตัวตันทานฟิล์มคาร์บอน(Carbon-Flim Resister)...เป็นตัวตัวต้านทานชนิดคาร์บอนอีกแบบหนึ่ง เป็นที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมากกว่าแบบคาร์บอนเพราะมีขนาดเล็กกว่า ผลิตโดยการฉาบหมึกคาร์บอนลงบนแท่งแก้วหรือแท่งเซรามิก แล้วจึงนำไปเผาเพื่อให้เกิดแผ่นฟิล์มคาร์บอนขึ้นมา เมื่อได้แผ่นฟิล์มที่เคลือบอยู่บนแท่งเซรามิกแล้วมีโลหะครอบปลายทั้งสองของคาร์บอนต่อออกมาเป็นขาตัวต้านทาน เคลือบผิวนอกสุดด้วยพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง ลักษณะตัวต้านทานฟิล์มคาร์บอน แสดงดังรูป 7ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน มีคุณสมบัติในการทำงานเหมือนกับตัวต้านทานคาร์บอน ข้อดีของตัวต้านทานชนิดนี้คือ ราคาที่ถูกกว่า มีข้อเสียคือ ไม่สามารถทนต่อแรงดันกระชากในช่วงเวลาสั้นๆ และมีค่าสัมประสิทธิ์ต่ออุณหภูมิที่ไม่ดี ช่วงพิสัยความต้านทานของตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอนจะมีค่าตั้งแต่ 10 โอห์ม ถึง 25 เมกกะโอห์ม มีค่าความผิดพลาดของความต้านทาน"5% และอัตราทนกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 0.1 ถึง 10 วัตต์

12.ตัวต้านทานวงจรรวม(Integrated - Circuit Resister)...อาจเรียกว่าตัวต้านทานไอซี (IC Resistor ) เป็นตัวต้านทานที่ผลิตจากซิลิคอนในรูปของสารกึ่งตัวนำ สามารถ สร้างตัวต้านทานในขนาดเล็กๆรวมไว้ด้วยกันได้จำนวนมากตัวในโครงสร้างเดี่ยวหรือใน IC ตัวเดียวได้ จึงช่วยให้สะดวกในการนำไปใช้งานมากขึ้น การต่อขาของตัวต้านทาน อาจต่อขาแยกเฉพาะตัวต้านทานแต่ละตัวก็ได้ หรือต่อตัวต้านทานเป็นวงจรไว้ภายในตัว IC และต่อขาออกมาในตำแหน่งที่ต้องการก็ได้ ลักษณะตัวต้านทานวงจรรวม

13.ตัวต้านทานแบบคงที่(Fixed Resistor)...ตัวต้านทานชนิดคงที่เป็นตัวต้านทานที่ผลิตขึ้นมามีค่าความต้านทานคงที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงไม่ได้ สามารถสร้างให้มีค่าความต้านทานกว้างมาก ตั้งแต่ค่าต่ำเป็นเศษส่วนของโอห์มไปจนถึงค่าสูงสุดเป็นเมกกะโอห์มขึ้นไป ผลิตมาใช้งานได้ทั้งประเภทโลหะและประเภทอโลหะ โดยเรียกตามวัสดุที่นำมาใช้ผลิต เช่น ไวร์วาวด์ ฟิล์มโลหะ คาร์บอนและฟิล์มคาร์บอน เป็นต้น ค่าทนกำลังไฟฟ้ามีตั้งแต่ 1/16 วัตต์ ถึงหลายร้อยวัตต์

14.ตัวต้านทานแบบแบ่งค่า(Tapped Resister)...ตัวต้านทานชนิดเลือกค่าได้ คือ ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ชนิดหนึ่ง มีค่าความต้านทานคงที่ตายตัวเหมือนตัวต้านทานแบบคงที่ ในตัวต้านทานแบบคงที่นี้มีการแบ่งค่าตัวต้านทานออกเป็นสองค่าหรือสามค่าภายในตัวต้านทานเพียงตัวเดียว ดังนั้นจึงมีขาต่อออกมาใช้งานมากกว่า 2 ขา เช่น 3 ขา 4 ขา และ 5 ขา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการเลือกใช้งาน

15.ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่า(Adjustable Resistor)...ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนแปรค่าได้ เป็นตัวต้านทานที่สามารถปรับเปลี่ยนความต้านทานได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ตั้งแต่ค่าความต้านทานต่ำสุด ไปจนถึงความต้านทานสูงสุดของตัวมันเองได้อย่างต่อเนื่อง โดยการใช้แกนหมุนหรือเลื่อนแกน ดังนั้นจึงมีโครงสร้างเป็นรูปโค้งเกือบเป็นวงกลม (แบบแกนหมุน) หรืออาจเป็นแท่งยาว (แบบเลื่อนแกน) มีขาออกมาใช้งาน 3 ขา ที่ขากลางเป็นตัวปรับเลื่อนค่าไปมาได้ วัสดุที่นำมาใช้เป็นตัวต้นทานชนิดเปลี่ยนแปรค่าได้จะใช้วัสดุประเภทเดียวกันกับตัวต้นทานชนิดค่าคงที่ คือแบบคาร์บอน และแบบไวร์วาวด์ รูปร่างและสัญลักษณ์ของตัวต้านทานชนิดนี้

16.ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้(Variable Resister)...ตัวต้านทานชนิดนี้เป็นตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์อีกชนิดหนึ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนค่าความต้นทานที่ต้องการใช้งานได้ โดยบนที่ตัวต้านทานชนิดนี้จะมีปลอกโลหะหลวมอยู่ และสามารถเลื่อนตำแหน่งเพื่อให้ได้ความต้านทานที่ต้องการ มีสกรูขันยึดปลอกโลหะให้สัมผัสแน่นกับเส้นลวดที่ตัวต้านทาน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเลื่อนเปลี่ยนตำแหน่ง การใช้งานของตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ จะใช้ค่าความต้านทานเฉพาะค่าใดค่าหนึ่งที่ปรับไว้เท่านั้น รูปร่างและสัญลักษณ์ของตัวต้นทานแบบเปลี่ยนค่า

17.ตัวต้านทานแบบพิเศษ(special Resister)... เป็นตัวต้านทานที่สร้างขึ้นมาใช้งานเฉพาะหน้าที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานได้ตามอุณหภูมิหรือความเข้มแสงที่มาตกกระทบตัวต้านทาน เช่น ฟิวส์รีซิสเตอร์ (Fuse Resistor) เทอร์มิสเตอร์ (Themistor) และแอลดีอาร์ (LDR;Light Dependent Resistor)เป็นต้น-1. ฟิวส์รีซิสเตอร์ (Fuse Resistor) เป็นตัวต้านทานที่ใช้ทำหน้าที่แทนฟิวส์ เพื่อป้องกันความเสียหายของวงจรเมื่อมีการกระจายกระแสไหลผ่านวงจรมากเกินค่าที่กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้ตัวต้านทานขาดทันที โดยทั่วๆ ไปตัวจ้านทานชนิดนี้จะมีค่าประมาณ 0 – 200 โอห์ม-2. เทอร์มิสเตอร์ หรือตัวต้านทานความร้อน(Themal Resistor)เป็นตัวต้านทานที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปค่าความต้านทานที่เปลี่ยนแปลงอาจไม่เป็นเชิงเส้น (Non – Linear) และแตกต่างกันตามชนิดของวัสดุที่นำมาใช้ผลิต โครงสร้างและส่วนประกอบภายในมักนำมาจากธาตุเยอรมันเนียมและซิลิคอน หรือโคบอลต์ นิกเกิล ทองแดง แพลทินัม เหล็ก และแมงกานีส เป็นต้น รูปร่างที่ผลิขึ้นมาใช้งานมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน เช่น รูปจาน แท่งทรงกระบอก ลูกประคำหรืออื่นๆ รูปร่างและสัญลักษณ์ของเทอร์มิสเตอร์ แสดงดังรูปที่13.16 คุณสมบัติของตัวเทอร์มิสเตอร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้งานมี 2 ชนิด คือ ชนิด NTC และชนิด PTC-3. แอลดีอาร์ (LDR) หรือ ตัวต้านทานพลังงานแสง (Photo Rs-sistor)เป็นตัวต้านทานที่สามารถเปลี่ยนสภาพการนำไฟฟ้าได้เมื่อมีความเข้มแสงมาตกกระทบตัวมัน คือ เมื่อแสงสว่างตกมากระทบน้อย LDR จะมีความต้านทานสูง และเมื่อแสงสว่างมาตกกระทบมาก LDR จะมีความต้านทานต่ำตัวต้านทานชนิดนี้จะทำมาจากวัสดุสารกึ่งตัวนำประเภทแคดเมียมซัลไฟด์ (CdS) หรือแคดเมียมซิลิไนด์ (CdSe) รูปร่างและสัญลักษณ์ของ LDR

18.เทอมีสเตอร์(Thermistor)...เทอร์มิสเตอร์ ( Thermistor ) เป็นตัวต้านทานชนิดหนึ่งที่คาความต้านทานสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป โครงสร้างของเทอร์มิสเตอร์ไม่มีรอยต่อของสารกึ่งตัวนำต่อชนกัน แต่เป็นคุณสมบัติของเนื้อสารที่มีผลเปลี่ยนแปลงความต้านทานไป เมื่อุณหภูมิที่ตัวเนื้อสารนั้นเปลี่ยนแปลง สารที่นำมาใช้ในการผลิตเทอร์มิสเตอร์มีหลายชนิด ปกติจะใช้พวกสนิมโลหะที่อาจเป็นชนิดเดียวหรือชนิดผสมก็ได้ สารที่ใช้ เช่น โคบอลต์ นิกเกิล แมงกานีส ทองแดง เหล็ก และสตรอนเทียม เป็นต้น รูปร่างของเทอร์มิสเตอร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้งานมีหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน รูปร่างของเทอร์มิสเตอร์ที่สร้างขึ้นมาใช้งาน เช่น แบบหยดน้ำ แบบโปรบแก้ว แบบแผ่นกลม แบบวงแหวน และแบบทรงกระบอก เป็นต้น รูปร่างลักษณะของเทอร์มิสเตอร์

19.ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าตามแสง(LDR->Light Dependent Resistor)...ตัวต้านทานเปลี่ยนค่าตามแสง ( Light Dependent Resistor ) ใช้อักษรตัวย่อ LDR มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน เช่น เซลล์ที่เป็นสื่อไฟฟ้าตามแสง ( Photo Conductive Cell ) หรืออุปกรณ์เปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานตามแสง ( Photoresistive Device ) เป็นอุปกรณ์ประเภทสารกึ่งตัวนำชนิด 2 ขั้วต่อ ที่ค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่อทั้งสอง สามารถเปลี่ยนค่าได้ตามความเข้มของแสงที่มาตกกระทบ โครงสร้างและสัญลักษณ์ของตัวต้านทานเปลี่ยนค่าตามแสง

20.โอห์ม(Ohm)...โอห์ม (อังกฤษ: ohm) (สัญลักษณ์ : Ω) เป็นหน่วยเอสไอ (SI) ของค่าอิมพีแดนซ์ทางไฟฟ้า ในกรณีของกระแสสลับ หรือค่าความต้านทานไฟฟ้า ในกรณีของกระแสตรง ตั้งชื่อตามจอร์จ โอห์ม นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน

21.มิลลิโอห์ม(Milliohm) ...สิบยกกำลังลบสาม -> mΩ

22.กิโลโอห์ม(Killohm)...สิบยกกำลังสาม -> kΩ

23.เมกโอห์ม(Megohm)...สิบยกกำลังหก -> MΩ

24.ประจุไฟฟ้า(Electric Charge)... เป็นคุณสมบัติพื้นฐานถาวรหนึ่งของอนุภาคซึ่งเล็กกว่าอะตอม (subatomic particle) เป็นคุณสมบัติที่กำหนดปฏิกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้า สสารที่มีประจุไฟฟ้านั้นจะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็จะได้รับผลกระทบจากสนามด้วยเช่นกัน ปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างประจุ และ สนาม เป็นหนึ่งในสี่ ของแรงพื้นฐาน เรียกว่า แรงแม่เหล็กไฟฟ้า

25.ประจุบวก(Positive Charge)...ประจุบวกที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ โปรตอน มีประจุ +1.6 x 10-19 C มีมวล 1.67 x 10-27 kg

26.ประจุลบ(Negative Charge)...ประจุลบที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ อิเลคตรอน มีประจุ -1.6 x 10-19 C มีมวล 9.1 x 10-31 kg

27.ศักย์ไฟฟ้า(Electric Potential)...ศักย์ไฟฟ้า หรือ เรียกว่าศักดาไฟฟ้า คือระดับของพลังงานศักย์ไฟฟ้า ณ จุดใดๆ ในสนามไฟฟ้า จากรูป ศักย์ไฟฟ้าที่ A สูงกว่าศักย์ไฟฟ้าที่ B เพราะว่าพลังงานศักย์ไฟฟ้าที่ A สูงกว่าที่ B ศักย์ไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือ ศักย์ไฟฟ้าบวก เป็นศักย์ของจุดที่อยู่ในสนามของประจุบวก และศักย์ไฟฟ้าลบ เป็นศักย์ของจุดที่อยู่ในสนามของประจุลบ ศักย์ไฟฟ้าจะมีค่ามากที่สุดที่ประจุต้นกำเนิดสนาม และมีค่าน้อยลง เมื่อห่างออกไป จนกระทั่งเป็นศูนย์ที่ ระยะอนันต์ (infinity) ในการวัดศักย์ไฟฟ้า ณ จุดใดๆ วัดจากจำนวนพลังงานศักย์ไฟฟ้า ที่เกิดจากการเคลื่อนประจุทดสอบ +1 หน่วย ไปยังจุดนั้น ดังนั้น จึงให้นิยามของศักย์ไฟฟ้าได้ว่าศักย์ไฟฟ้า ณ จุดใดๆ ในสนามไฟฟ้า คือ พลังงานนี้สิ้นเปลืองไปในการเคลื่อนประจุ ทดสอบ +1 หน่วยประจุจาก infinity มายังจุดนั้น หรือจากจุดนั้นไปยัง infinity ศักย์ไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโวลต์

28.ศักย์บวก(Positive Potential)...หมายถึง การมีประจุมากกว่าประจุลบ

29.ศักย์ลบ(Negative Potential)...หมายถึง การมีประจุลบมากกว่าประจุบวก

30.เส้นแรง(Line of Force)...เรากำหนด เพื่อความสะดวกในการศักษา ไม่มีปรากฏอยู่จริงๆ โดยกำหนดเป็นหลักให้เข้าใจตรงกันว่า เมื่อ วางประจุไฟฟ้าบวกอิสระ ลงในสนามไฟฟ้า ถ้าประจุไฟฟ้าบวกอิสระนั้น สามารถเคลื่อนที่ไปได้ แนวทางที่ประจุไฟฟ้าบวกอิสระนี้จะเคลื่อนที่ไป กำหนด ว่าเป็นเส้นแรงไฟฟ้า และทิศทางของเส้นสัมผัส ซึ่งสัมผัสแรงไฟฟ้าที่จุดใดๆ ก็คือ ทิศทางของสนามไฟฟ้า ณ จุดนั้น

31.ตัวเก็บประจุ(Capacitor)...เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน โดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีชนิดของประจุตรงข้ามกัน บางครั้งเรียกตัวเก็บประจุนี้ว่า คอนเดนเซอร์ (condenser) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญในงานอิเล็กทรอนิกส์ และพบได้แทบทุกวงจร

32.แผ่นตัวนำ(Conductive Plate)...สนามไฟฟ้าที่ชี้ออกจาก +Q เส้นลูกศรบาง คือ สนามไฟฟ้าที่ชี้เข้าประจุ –Q , ที่ด้านนอกแผ่นตัวนำทั้งสองสนามไฟฟ้าจะหักล้างกันหมด เหลือเฉพาะระหว่างแผ่นตัวนำทั้งสอง

33.ไดอิเล็กตริก(Dielectric)...เป็นสารที่ไม่นำไฟฟ้าหรือฉนวนเพื่อเปลี่ยนแปลงค่าความจุ เมื่อนำสารไดอิเล็กตริกใส่ระหว่างแผ่นตัวนำจะทำให้ค่าความจุเพิ่มขึ้นเป็น เท่า โดยค่า นี้เรียกว่าค่าคงที่ไดอิเล็กตริก (dielectric constant) พิจารณาแผ่นตัวนำแบบขนานซึ่งมีสุญญากาศกั้นระหว่างตัวนำ

34.การเก็บประจุ(Charge)...เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รู้จักทั่วไปว่าสามารถเก็บประจุได้ บางทีเรียกว่า คาปาซิเตอร์ ใช้สัญลักษณ์ย่อว่า C มีหน่วยเป็น ฟารัด (F)

35.การคายประจุ(Discharge)...ตัวเก็บประจุที่ถูกประจุแล้ว ถ้าเรายังไม่นำขั้วตัวเก็บประจุมาต่อกัน (ดังในรูป ก)อิเล็กตรอนก็ยังคงอยู่ที่แผ่นเพลต แต่ถ้ามีการครบวงจร ระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองเมื่อไร อิเล็กตรอนก็จะวิ่งจากแผ่นเพลตทางด้านลบ ไปครบวงจรที่แผ่นเพลตบวกทันที เราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "การคายประจุ"

36.ความจุ(Capacitance)...-1.สมบัติของสารตัวนำและสารไดอิเล็กทริกที่ยอมให้มีการสะสามประจุไฟฟ้าเมื่อเกิดความต่างศักดิ์ ค่าทีได้จะขึ้นอยู่กับสมบัติทางไฟฟ้าของสารไดอิเล็กทริก ความต่างศักย์ และความถี่ที่ป้อนให้-2.สมบัติของระบบตัวนำและฉนวนที่อนุญาตให้มีการเก็บประจุเมื่อมีความต่างศักย์เกิดขึ้นระหว่างตัวนำ สัญลักษณ์ C มีหน่วยเป็นฟารัด (farads, F)

37.คงที่(Constant)...ค่าคงที่คือการกำหนดตัวแปรที่มีค่าไม่เปลี่ยนแปลง ตลอด ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ คือ-1. ค่าคงที่แบบ User Defined เป็นค่าคงที่ที่เรากำหนดเอง ใช้เฉพาะแอพพลิเคชั่นของเรา โดยใช้คำสั่ง Constant ในการประกาศค่า มีรูปแบบดังนี้ Constant ชื่อค่าคงที่ As ชนิดข้อมูล = ค่าคงที่นั้น ตัวอย่าง Constant Pi As Double = 3.141578-2. ค่าคงที่แบบ Pre – Defined เป็นค่าคงที่ที่ Visual Basic กำหนดไว้แล้ว เราสามารถเรียกใช้ได้ทันที เช่น vbOkOnly , vbInformation , MsgBox

38.ตัวเก็บประจุชนิดกระดาษ(Paper Capacitor)...ตัวเก็บประจุชนิดกระดาษจะมีค่าความจะไม่สูงมากนัก ซึ่งจะเขียนบอกไว้ที่ข้างๆ ตัวเก็บประจุ คืออยู่ในพิสัยจาก 10 pF ถึง 10mF อัตราทนไฟสูงประมาณ 150 โวลต์ จนถึงหลายพันโวลต์ โดยมากนิยมใช้ในวงจรจ่ายกำลังไฟสูง

39.ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า (Mica Capacitor)...ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้แผ่นไมก้าเป็นฉนวนไดอิเล็กตริก ส่วนมากตัวเก็บประจุชนิดนี้จะถูกทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเพราะแผ่นไมก้าจะมีคุณสมบัติที่แข็งกรอบ โครงสร้างของมันจะประกอบด้วยแผ่นเพลตโลหะบางๆ อาจใช้หลายๆ แผ่นวางสลับซ้อนกัน แต่จะต้องคั่นด้วยฉนวนไมก้า ดังแสดงในรูป ซึ่งตัวเก็บประจุจะถูกหุ้มห่อด้วยฉนวนจำนวนเมกาไลท์ เพื่อป้องกันการชำรุดสึกหรอ

40.ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิก(Ceramic Capacitor)...ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิคจะมีรูปร่างแบบแผ่นกลม (Disc) และแบบรูปทรงกระบอก (Tubular) ซึ่งจะมีค่าความจุอยู่ในพิสัยจาก 1.5 pF ถึง 0.1 mF อัตราทนแรงไฟประมาณ 500 โวลต์

41.ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์มพลาสติก(Plastic Film Capacitor)...ตัวเก็บประจุชนิดพลาสติก แต่จะใช้ไดอิเล็กตริกที่เป็นแผ่นฟิล์มที่ทำมาจากโพลีเอสเตอร (Polyester) ไมลาร์ (Mylar) โพลีสไตรีน (Polystyrene) และอื่นๆ โดยนำมาคั่นระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองแผ่นแล้วม้วนพับให้มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก

42.ตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลัม(Tantalum Capacitor)...ตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลัม เป็นตัวเก็บประจุที่มีขนาดเล็กแต่มีค่าความจุสูง โครงสร้างของตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลัม ประกอบด้วยแผ่นโลหะบางของแทนทาลัม เคลือบแผ่นโลหะออกไซด์ (Tantalum Oxide) และเคลือบด้วยสารอิเล็กโตรไลต์เพื่อคั่นกลางแผ่นโลหะแทนทาลัมอีกชั้น ขาลวดตัวนำถูกต่อออกมาจากแผ่นโลหะแทนทาลัม ผิวด้านนอกสุดของตัวเก็บประจุถูกเคลือบด้วยสารประเภทพลาสติก ข้อดีของตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลัม คือ ทนทานต่อการใช้งาน ทนต่ออุณหภูมิและความชื้น ไม่เกิดกระแสรั่วไหลขณะนำไปใช้งาน แต่มีอัตราทนแรงดันต่ำ

43.ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโตรไลติก(Electrolytic Capacitor)...ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรลิติก เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้น้ำยาอิเล็กโทรไลท์เป็นแผ่นข้างหนึ่งแทนโลหะ และอีกแผ่นหนึ่งเป็นแผ่นโลหะมีเยื่อบางๆ ที่เรียกว่า "ฟิล์ม" (Film) หุ้มอยู่ เยื่อบางๆ นี้คือ ไดอิเล็กตริก หรือแผ่นกั้น

44.กระแสรั่วไหล(Leakage Current)... คือการที่จุด 2 จุด ในวงจรไฟฟ้า หรือส่วนของวงจรไฟฟ้าซึ่งมีศักดาไฟฟ้าต่างกัน (มีแรงดันไฟฟ้าต่างกัน) มาแตะหรือสัมผัสกัน หรือมีตัวนำซึ่งมีค่าความต้านทานต่ำ ๆ มาสัมผัสกันระหว่าง 2 จุดนั้นทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลระหว่าง 2 จุดนั้นจำนวนมาก (เกิดการถ่ายเทพลังงานกัน) เรียกว่าเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้น

45.ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้(Variable Capacitor)...ชื่อของตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ก็บอกกันชัดๆ แล้วนะครับว่า สามารถปรับค่าความจุของตัวเก็บประจุได้ ด้วยการ หมุนแกนของตัวเก็บประจุ ค่าความจุก็จะเปลี่ยนไปตามมุมที่หมุนด้วย โดยมากที่พบเห็นกันบ่อยๆ เขาใช้ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ ในวงจรเลือกคลื่นวิทยุทั่วๆ ไป

46.สเตเตอร์(Stator)... สเตเตอร์(Stator) หรือเรียกว่าโครงสร้างสนามแม่เหล็กซึ่งประกอบด้วยแผ่นเหล็กบางๆแน่มีร่องสำเร็จไว้ใส่ขดลวดเรียกวาช่องสลอต(slot) อัดเป็นปึกแผ่น อยู่ภายในกรอบโครง(Frame) ซึ่งเฟรมนั้น จะทำมาจากเหล็กหล่อ(Cast iron) หรือเหล็กเหนียว(Steel) ที่สเตเตอร์ของสปลิทเฟสมอเตอร์จะมีขดลวดพันอยู่ 2ชุด คือขดรันหรือขดเมน(Running Winding หรือ Main Winding) พันด้วยลวดเส้นใหญ่จำนวนรอบมาก ขดลวดรันนี้จะมีไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มสตาร์ทหรือทำงานปกติ ขดลวดชุดที่สอง สำหรับเริ่มหมุนหรือขดสตาร์ต(Starting winding)พันด้วยลวดเส้นเล็กและจำนวนรอบน้อยกว่าขดรันขดลวดสตาร์ท จะต่ออนุกรมอยู่กับสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางแล้วจึงนำไปต่อขนานกับขดรัน

47.โรเตอร์(Rotor)...โรเตอร์ทำด้วยแผ่นเหล็กบางๆ(Laminated)อัดซ้อนกันเป็นแกนและมีเพลาร้อยทะลุเหล็กบางๆเพื่อยึดให้แน่นรอบโรเตอร์นี้จะมีร่องไปตามทางยาวในร่องนี้จะมีทองแดงหรืออลูมิเนียมเส้นโตๆฝังอยู่โดยรอบปลายของทองแดงหรืออลูมิเนียมนี้จะเชื่อมติดอยู่กับวงแหวนทองแดงหรืออลูมิเนียม ซึ่งมีลักษณะคล้ายกรงกระรอกจึงเรียกชื่อว่าโรเตอร์กรงกระรอก(Squirrel cagerotor)

48.แก็ง(Gang)...

49.ทริมเมอร์(Trimmer)...ตัวเก็บประจุแบบทริมเมอร์ สามารถแยกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ชนิด คือ แบบหลายรอบ(multitum) แบบรอบเดียว (single turn) และแบบกดอัด (compression type) ตัวเก็บประจุแบบหลายรอบ ประกอบด้วย ไดอิเล็กตริกที่เป็นแก้ว ควอตซ์แซฟไฟร์ พลาสติก หรืออากาศ ในขณะที่แบบรอบเดียวใช้เซรามิก พลาสติก หรืออากาศเป็นไดอิเล็กตริกส่วนแบบกดอัด จะใช้ไมก้าเป็นไดอิเล็กตริก